ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ วันชูเสริม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • อักษราณัฐ สุทธิประภา สถาบันพระบรมราชชนก
  • อนุชา ไทยวงษ์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเผชิญความเครียด , ความเข้มแข็งอดทน , ความรู้สึกไม่แน่นอน , หญิงตั้งครรภ์ , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

บทคัดย่อ

ที่มา: การเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์เป็นกลไกการตอบสนองที่สำคัญต่อความเครียดที่สตรีตั้งครรภ์กำลังเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดสตรีตั้งครรภ์ภายใต้สถานการณ์นี้ยังคงมีจำกัด

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม คัดเลือกเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 – ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการเผชิญความเครียดขณะตั้งครรภ์ฉบับปรับปรุง แบบวัดความเข้มแข็งอดทนในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และแบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ทดสอบความสัมพันธ์เชิงทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 27.93 ± 5.85 ปี และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคน่า 2019 ร้อยละ 58.33 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า ความรู้สึกไม่แน่นอน (Beta=-156; p<.05) และความเข้มแข็งอดทน (Beta= .320; p<.05) สามารถร่วมกันทำนายการเผชิญความเครียดรูปแบบวางแผนเตรียมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า รายได้ครอบครัว (Beta=-.224; p<.05) สามารถทำนายการเผชิญความเครียดรูปแบบใช้จิตวิญญาณเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่าอายุ (Beta=.239; p<.05) ความรู้สึกไม่แน่นอน (Beta=.214; p<.05) และความเข้มแข็งอดทน (Beta=.285; p<.05) สามารถร่วมกันทำนายการเผชิญความเครียดแบบหลีกเลี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลควรใช้ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับออกแบบโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม รวมถึงควรประเมินความเข้มแข็งอดทนและความรู้สึกไม่แน่นอน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนกิจกรรมการพยาบาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

References

Murray SS, McKinney ES. Pain management during childbirth. In Foundation of Maternal-New born and Women’s Health Nursing; 6th ed; United States of America. Saunders Elsevier; 2014. P. 278-282.

Chen-Yun et al. The Prevalence and Influencing Factors in Anxiety in Medical Workers Fighting COVID-19 in China: A Cross-Sectional Survey. Epidemiology and Infection 2020; 148(98): 1–7.

Dashraath et al. Special report: coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic and pregnancy. American journal of obstetrics and gynecology 2020; 222(6): 521–531. https://doi.org/10.1016/j.ajog.2020.03.021/

Lazarus RS, Folkman S. Stress coping and appraisal. New York. Springer; 1984.

Da Costa D, Dritsa M, Larouche J, Brender W. Psychosocial predictors of labor/deliverycomplications and infant birth weight: A prospective multivariate study. Journal of Psychosomatic Obstetrics and Gynecology 2000; 21(3): 137-148.

Ren et al. Depression, social support and coping styles among pregnant woman after the Lushan earthquake in Ya an, China. PLOSE ONE 2015; 10(8). https://doi:10.1371/journal.pone.0135809

Giurgescu C, Penckofer S, Maurer MC, Bryant FB. Impact of uncertainly, social support and prenatal coping on the psychological well-being of high-risk pregnancy woman. Nursing Research 2006; 55(5): 356-365. https://doi: 10.1097/00006199-200609000-00008

Polit DF. Statistics and data analysis for nursing research. 2nd ed. Saratoga Spring NY. Humanalysis; 2010.

Hamilton JG, Lobel M. Types, patterns, and predictors of coping with stress during pregnancy: Examination of the revised prenatal coping inventory in a diverse sample. Journal of Psychosomatic Obstetrics and Gynecology 2008; 29(2): 97-104. https://doi: 10.1080/016748820701690624

พินทร์พจน์ พรหมเสน, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. ความเข้มแข็งอดทน การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. พยาบาลสาร 2562; 46(3): 169-180.

อภิญญา พจนารถ. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่. พยาบาลสาร 2556; 40(3): 75-84.

Craft CA. A conceptual model of feminine hardiness. Holistic Nursing Practice 1999; 13: 25-34.

Boonchu K. Factors effecting resilience of unwanted pregnancy teenage girls in Nakhonpathom Province. Bangkok. Silpakorn university. 2012. (In Thai)

สุกัญญา ม่วงเลี้ยง, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์. ความรู้สึกไม่แน่นอนและการเผชิญความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ช่วงรอผลวินิจฉัยการเจาะน้ำคร่ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(1): 181-195.

ลักษคณา เจริญราษฎร์, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกไม่แน่นอน และการเผชิญความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2564; 48(1): 222-233.

สุริยา ยอดทอง, รุ่งฤดี อุสาหะ, อาภรณ์ ภู่พัทธยากร. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(2): 381-391.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความแข็งแกร่งในชีวิต (Resilience). ใน: พัชรินทร์ นินทจันทร์, บรรณาธิการ. ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2558. หน้า. 3-24.

อาทิตยา ขวัญแก้ว, ศศิธร เมืองจันทร์, กิติยา หมื่นสมุทร, เสาวลักษณ์ กรดแก้ว, ณัฐวดี ขวัญวิชา, วายุรี ลำโป. การสนับสนุนทางสังคม ความแข็งแกร่งในชีวิต และการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). การประชุมวิชาการระดับชาติ; ครั้งที่ 14; มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 2565.

Roberto A, Sellon A, Cherry ST, Hunter-Jones J, Winslow H. Impact of spirituality on resilience and coping during the COVID-19 crisis: A mixed-method approach investigating the impact on women. Health care for women international 2020; 41(11-12): 1313-1334.

กรองแก้ว ราษฎรดี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรความรู้สึกไม่แน่นอนขณะรอตรวจคัดกรองเบาหวานกับการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.

Sarani A, Azhari S, Mazlom SR, Sherbaf HA. The relationship between psychological hardiness and coping strategies during pregnancy. Journal of Midwifery & Reproductive Health 2015; 3(3): 408-417.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17