ความไวและความจำเพาะของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบจำกัดระยะสแกนสำหรับการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ธีรารัตน์ มั่นมณี โรงพยาบาลกระบี่

คำสำคัญ:

ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การจำกัดระยะสแกน

บทคัดย่อ

ที่มา: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันมากขึ้น การจำกัดระยะสแกนให้ครอบคลุมเฉพาะส่วนที่สนใจ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบจำกัดระยะสแกน สามารถให้ผลการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้ดีหรือไม่

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความไวและความจำเพาะของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบจำกัดระยะสแกน สำหรับการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาลกระบี่ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566 ด้วยอาการที่สงสัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน จำนวน 270 ราย โดยนำภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยมาจำกัดระยะสแกนให้จุดสูงสุดอยู่ที่ระดับขอบบนของกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 3 และจุดต่ำสุดอยู่ที่ระดับขอบบนของจุดเชื่อมกระดูกหัวหน่าว แล้วแปลผลภาพดังกล่าวเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย

ผลการศึกษา: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบจำกัดระยะสแกนสามารถครอบคลุมไส้ติ่งหรือลำไส้ใหญ่ส่วนต้นได้ทั้งหมดในผู้ป่วย 269 ราย (99.63%) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไส้ติ่งอักเสบ 94 ราย (34.81%) มีโรคอื่น 73 ราย (27.04%) และไม่พบความผิดปกติหรือไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด 103 ราย (38.15%) ซึ่งการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบจำกัดระยะสแกน มีค่าความไว 92.86% ความจำเพาะ 98.26% ค่าทำนายผลบวก 96.81% และ ค่าทำนายผลลบ 96.02%

สรุป: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้ครอบคลุมจากระดับขอบบนของกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 3 ถึงระดับขอบบนของจุดเชื่อมกระดูกหัวหน่าว เพียงพอต่อการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

ผลการศึกษา: Focused CT สามารถครอบคลุมไส้ติ่งหรือลำไส้ใหญ่ส่วนต้นได้ทั้งหมดในผู้ป่วย 269 ราย (99.63%) มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไส้ติ่งอักเสบ 94 ราย (34.81%) มีโรคอื่น 73 ราย (27.04%) และไม่พบความผิดปกติหรือไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด 103 ราย (38.15%) ซึ่งการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันด้วย Focused CT มีค่าความไว 92.86% ความจำเพาะ 98.26% ค่าทำนายผลบวก 96.81% และ ค่าทำนายผลลบ 96.02%

สรุป: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้ครอบคลุมจากระดับขอบบนของกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 3 ถึงระดับขอบบนของจุดเชื่อมกระดูกหัวหน่าว เพียงพอต่อการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

References

Cartwright SL, Knudson MP. Diagnostic imaging of acute abdominal pain in adults. Am Fam Physician. 2015 Apr 1;91(7):452-9.

Guan L, Liu Z, Pan G, Zhang B, Wu Y, Gan T, et al. The global, regional, and national burden of appendicitis in 204 countries and territories, 1990-2019: a systematic analysis from the Global Burden of Disease Study 2019. BMC Gastroenterol. 2023 Feb 22;23(1):44.

Bom WJ, Scheijmans JCG, Salminen P, Boermeester MA. Diagnosis of Uncomplicated and Complicated Appendicitis in Adults. Scand J Surg. 2021 Jun;110(2):170-179.

Kambadakone AR, Santillan CS, Kim DH, Fowler KJ, Birkholz JH, Camacho MA, et al. ACR Appropriateness Criteria® Right Lower Quadrant Pain: 2022 Update. J Am Coll Radiol. 2022 Nov;19(11S):S445-S461.

Garcia EM, Camacho MA, Karolyi DR, Kim DH, Cash BD, Chang KJ, et al. ACR Appropriateness Criteria® Right Lower Quadrant Pain-Suspected Appendicitis. J Am Coll Radiol. 2018 Nov;15(11S):S373-S387.

Aly NE, McAteer D, Aly EH. Low vs. standard dose computed tomography in suspected acute appendicitis: Is it time for a change? Int J Surg. 2016 Jul;31:71-9.

Yun SJ, Ryu CW, Choi NY, Kim HC, Oh JY, Yang DM. Comparison of Low- and Standard-Dose CT for the Diagnosis of Acute Appendicitis: A Meta-Analysis. AJR Am J Roentgenol. 2017 Jun;208(6):W198-W207.

Haijanen J, Sippola S, Tammilehto V, Grönroos J, Mäntyoja S, Löyttyniemi E, et al. Diagnostic accuracy using low-dose versus standard radiation dose CT in suspected acute appendicitis: prospective cohort study. Br J Surg. 2021 Dec 1;108(12):1483-1490.

Corwin MT, Chang M, Fananapazir G, Seibert A, Lamba R. Accuracy and radiation dose reduction of a limited abdominopelvic CT in the diagnosis of acute appendicitis. Abdom Imaging. 2015 Jun;40(5):1177-82.

Zinsser D, Maurer M, Do PL, Weiß J, Notohamiprodjo M, Bamberg F, et al. Reduced scan range abdominopelvic CT in patients with suspected acute appendicitis - impact on diagnostic accuracy and effective radiation dose. BMC Med Imaging. 2019 Jan 11;19(1):4.

Tarulli M, Rezende-Neto J, Vlachou PA. Focused CT for the evaluation of suspected appendicitis. Abdom Radiol (NY). 2019 Jun;44(6):2081-2088.

Dowhanik A, Tonkopi E, Crocker CE, Costa AF. Diagnostic performance and radiation dose of reduced vs. standard scan range abdominopelvic CT for evaluation of appendicitis. Eur Radiol. 2021 Oct;31(10):7817-7826.

Karul M, Berliner C, Keller S, Tsui TY, Yamamura J. Imaging of appendicitis in adults. Rofo. 2014 Jun;186(6):551-8.

Davis J, Roh AT, Petterson MB, Kopelman TR, Matz SL, Gridley DG, et al. Computed tomography localization of the appendix in the pediatric population relative to the lumbar spine. Pediatr Radiol. 2017 Mar;47(3):301-305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28