ผลของโปรแกรมการเจริญสติ ต่อความเครียดและระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช คงเสน่ห์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเจริญสติ, ความเครียด, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

ที่มา: โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรทั่วโลก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเจริญสติเป็นอีกกิจกรรมที่ส่งผลต่อค่าความโลหิตให้ลดลงได้ หากปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนระบบประสาทถูกระตุ้นให้มีการปล่อยสาร dopamine เพิ่มมากขึ้น ในระดับที่ร่างกายผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจลดลงและคงความสม่ำเสมอ

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการเจริญสติต่อความเครียดและความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีค่าระดับความดันโลหิต >120/80-139/89 mmHg อายุ 35 ปี ขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการจับฉลาก จับคู่ความคล้ายของกลุ่มเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การฝึกสมาธิ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเจริญสติ Mindfulness – Base Stress Reduction (MBSR) ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา CVI เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้สถิติ independent t-test และ pair t-test

ผลการศึกษา: ความเครียดและความดันโลหิตก่อนได้รับโปรแกรมไม่มีต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบ แต่หลังได้รับโปรแกรมพบว่าความเครียดและความดันโลหิตของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: โปรแกรมการเจริญสติ สามารถลดความเครียดและลดระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

References

นิตยา กระจ่างแก้ว, บุญทิพย์ สิริธรังศรี และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31(4):725-734.

ปิยรัตน์ ชลสินธุ์ และจุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย. ผลของโปรแกรมควบคุมความดันโลหิต ต่อความเชื่อด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ ปริมาณโซเดียมที่ได้รับและระดับความดันโลหิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(4):63-75.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ. ผลของการฝึกสติต่อพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. (ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2561

สุดฤทัย รัตนโอภาส. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;3(4):59-66.

World Health Organization. A global brief on hypertension. 2013 Retrieved from http://www.who.int/cardiovascular_diseases/publications/global_brief_hypertension/en/

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. 2561 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, from https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/ main/index_pk.php

ณัฏฐินี เสือโต, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และมธุรส ทิพยมงคลกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต ในกลุ่มอายุ 35-59 ปี ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;32(2):95-115.

สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพร อึ้งวัฒนา และเดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร. 2560;47(2):85-97.

ภณิภารัศมิ์ ธรรมโยธินกุล. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพรายบุคคลของผู้สงูอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. 2560 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จากฐานข้อมูล. https:// oldweb.western.ac.th/index.php/th/research-nursingw/research

วรวุฒิ ชมภูพาน, ฐากูร เกชิต, วรางคณา ชมภูพาน, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, จรียา ยมศรีเคน, อัจฉรา ชนะบุญ. ผลของโปรแกรมการปรับวิถีชีวิตต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2021;31(1):44-57.

Wu Y, Ma G, Feng N, Zhang Z, Zhang S, Li X. The Pathogenesis and Influencing Factors of Adult Hypertension Based on Structural Equation Scanning. Scanning. 2022 May 27;2022:2663604. doi: 10.1155/2022/2663604. Retraction in: Scanning. 2023 Jun 21;2023:9823960. doi: 10.1155/2023/9823960. PMID: 35686155; PMCID: PMC9166978.

Kabat-Zinn J. Wherever You Go There You Are: Mindfulness Meditation in Everyday Life. Hyperion, New York. 1994.

Witkiewitz, K., Marlatt, G.A., & Walker, D. Mindfulness-based relapse prevention for alcohol and substance use disorders. Journal of Cognitive Psychotherapy. 2005;19(3):211-228.

Proulx K. Integrating mindfulness-based stress reduction. Holistic Nursing Practice. 2003;17(4):201–208.

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 2019 Thai. Guidelines on The Treatment of Hypertension. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. จัดพิมพ์ที่ ทริค ธิงค์. เชียงใหม

Cernes R, Zimlichman R. Role of paced breathing for treatment of hypertension. Curr Hypertens Rep, 2017;19(6):1-9.doi10.1007/s11906-017-0742-1.

Lee CK, Park KH, Baik SK, Jeong SW. Decreased excitability and voltage-gated sodium currents in aortic baroreceptor neurons contribute to the impairment of arterial baroreflex in cirrhotic rats. American journal of physiology Regulatory, integrative and comparative physiology. 2016;310(11):1088-101.doi10.1152/ajpregu.00129.2015.

รัตนาวดี แก้วเส้ง, ทรงพร จันทรพัฒน์, ปรียา แก้วพิมล และวิมลรัตน์ จงเจริญ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการบำบัดตนเองด้วยเรกิต่อความเครียดและความดันโลหิตในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561;29(1): 133-147.

Bruno C, Amaradio M, Pricoco G, Marino E, Bruno F. Lifestyle and hypertension: an evidence-based review. Journal of Hypertension and Management. 2018;4(1):1-10.

Liu N, Yang JJ, Meng R, Pan X-F, Zhang X, He M, et al. Associations of blood pressure categories defined by 2017 ACC/AHA guidelines with mortality in China: pooled results from three prospective cohorts. European journal of preventive cardiology. 2022;27(4):345-54.

Whelton PK, Carey RM, Aronow WS, Casey DE, Collins KJ, Himmelfarb CD, et al. Guideline for the prevention, detection, evaluation, and management of high blood pressure in adults: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on clinical practice guidelines. Journal of the American College of Cardiology. 2017;(19):127-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24