การดูแลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อและติดเชื้อชนิดรุนแรง : สามารถทดแทนการวัดความดันหลอดเลือดดำส่วนกลางด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงวัดการเปลี่ยนแปลงขนาดหลอดเลือดดำส่วนกลางได้หรือไม่
คำสำคัญ:
การติดเชื้อรุนแรง, ภาวะช็อกจาการติดเชื้อ, เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงบทคัดย่อ
บทนำ : มีการศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับการรักษาภาวะติดเชื้อรุนแรงหรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อตามแนวทาง Early goal directed therapy (EGDT) กับการรักษาแบบทั่วไปพบว่าอัตราการเสียชีวิตที่ 90 วันไม่ต่างกัน แต่ไม่มีการขี้แจงรายละเอียดกระบวนการประเมินสารน้ำ งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานที่ทำให้ต่างประเทศ ยังไม่มีการศึกษาเทียบเคียงในบริบทของประเทศไทยซึ่งมีเทคโนโลยีในการดูแลผู้ป่วยต่างกัน
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะติดเชื้อชนิดรุนแรงหรือมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับการรักษาแบบไม่รุกล้ำโดยการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบที่ต้องใส่สายในหลอดเลือดดำใหญ่เพื่อวัดความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง
วิธีการศึกษา : การศึกษาตามแผนโดยใช้ช้อมูลย้อนหลังเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อรุนแรงหรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อได้รับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ตามแนวทาง EGDT โดยการใส่สายทางหลอดเลือดดำใหญ่และการรักษาตามแนวทางการรักษาโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ผลการศึกษาหลักคือ อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ผลการศึกษารองคือ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อน
ผลการศึกษา : ระยะเวลาการเก็บข้อมูลตั้งแต่กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2558 มีผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงและช็อกจากการติดเชื้อที่มาห้องฉุกเฉินทั้งหมด 87 คน เข้าเกณฑ์วิเคราะห์ 79 คน ได้รับการรักษาแบบ EGDT จำนวน 49 คน และตามแนวทางแบบไม่รุกล้ำโดยการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงจำนวน 30 คน พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาทั้งสองกลุ่ม
สรุปผลการศึกษา : การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงและภาวะช็อกจากการศึกษาโดยแนวทางแบบไม่รุกล้ำโดยการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลไม่ต่างจากการรักษาตามแนวทาง early goal directed therapy
References
Rezende E, Junior JMS, Isola AM, Campos EV, Amendola CP, Almeida SL. Epidemiology of Severe Sepsis in the Emergency Department and Difficulties in the Initial Assistance. Clinics. 2008;63(4):457–64.
Mayr FB, Yende S, Angus DC. Epidemiology of severe sepsis. Virulence. 2014;5(1):4–11.
Kaukonen K-M, Bailey M, Suzuki S, Pilcher D, Bellomo R. Mortality related to severe sepsis and septic shock among critically ill patients in Australia and New Zealand, 2000-2012. JAMA. 2014;311(13):1308–16.
Dellinger RP, Levy MM, Carlet JM, Bion J, Parker MM, Jaeschke R, et al. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2008. Crit Care Med. 2008;36(1):296–327.
Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med. 2013;41(2):580–637.
Hp L, Ty L, Yw L, Wh L, Sk T. Delayed airway obstruction secondary to inadvertent arterial puncture during percutaneous central venous cannulation. Acta Anaesthesiol Sin. 2001;39(2):93–6.
Jr D, Ms C, Cm Z. [Central venous catheterrelated infections in critically ill patients]. Rev Assoc Medica Bras 1992. 1995;42(4):205–14.
Crowley AL, Peterson GE, Benjamin DK, Rimmer SH, Todd C, Cabell CH, et al. Venous thrombosis in patients with short- and long-term central venous catheter–associated Staphylococcus aureus bacteremia*: Crit Care Med. 2008;36(2):385–90.
Vinson DR, Ballard DW, Hance LG, Stevenson MD, Clague VA, Rauchwerger AS, et al. Pneumothorax is a rare complication of thoracic central venous catheterization in community EDs. Am J Emerg Med. 2015;33(1):60–6.
Barbier C, Loubières Y, Schmit C, Hayon J, Ricôme J-L, Jardin F, et al. Respiratory changes in inferior vena cava diameter are helpful in predicting fluid responsiveness in ventilated septic patients. Intensive Care Med. 2004;30(9):1740–6.
Cannesson M, Besnard C, Durand PG, Bohé J, Jacques D. Relation between respiratory variations in pulse oximetry plethysmographic waveform amplitude and arterial pulse pressure in ventilated patients. Crit Care. 2005;9(5):R562.
Lilly CM. The ProCESS trial--a new era of sepsis management. N Engl J Med. 2014;370(18):1750–1.
Goal-Directed Resuscitation for Patients with Early Septic Shock. N Engl J Med. 2014;371(16):1496–506.
Feissel M, Michard F, Faller J-P, Teboul J-L. The respiratory variation in inferior vena cava diameter as a guide to fluid therapy. Intensive Care Med. 2004;30(9):1834–7.
Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early Goal-Directed Therapy in the Treatment of Severe Sepsis and Septic Shock. N Engl J Med. 2001;345(19):1368–77.
Brennan JM, Blair JE, Goonewardena S, Ronan A, Shah D, Vasaiwala S, et al. Reappraisal of the Use of Inferior Vena Cava for Estimating Right Atrial Pressure. J Am Soc Echocardiogr. 2007;20(7):857–61.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ถือเป็นเป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
กรณีที่บทความได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยแล้ว จะตีพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีสำเนาการพิมพ์ภายหลังหนังสือเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ผู้นิพนธ์ไม่สามารถนำบทความดังกล่าวไปนำเสนอหรือตีพิมพ์ในรูปแบบใดๆ ที่อื่นได้ หากมิได้รับคำอนุญาตจากวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย