การศึกษาอัตราการเกิดความแออัดในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิริราช และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ:
ความแออัดในห้องฉุกเฉิน, ห้องฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทนำ : ความแออัดในห้องฉุกเฉิน มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษา และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาถึงอัตราการเกิดความแออัดในห้องฉุกเฉิน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จะนำมาสู่การปรับลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่จำเป็น เพื่อลดความแออัดในห้องถูกเฉิน เพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินในอนาคต
วิธีการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ cross sectional เก็บข้อมูลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ามารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2557 โดยสุ่มเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรักษาที่เกิดขึ้นในห้องฉุกเฉินทั้งหมด เปรียบเทียบกลุ่มที่เข้ามารับการรักษาในขณะที่ห้องฉุกเฉินมีความแออัด และไม่มีความแออัด นำข้อมูลที่ได้คำนวณทางสถิตีโดยใช้วิธี Chi-square test และ Mann-Whitney U test เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแออัดในห้องฉุกเฉิน
ผลการวิจัย : ในช่วงเวลา 1 ปี ผู้ป่วยทั้งหมด 206 คนมารับบริการในห้องฉุกเฉินในช่วงที่มีความแออัด 153 คน (74.3% มัธยฐานของเวลาในการรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่ากับ 68 นาที เวลาในการรอแพทย์เฉพาะทางมาประเมินผู้ป่วย 15 นาที เวลาในการรอเพื่อรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล 50 นาที มัธยฐานของเวลาที่ผู้ป่วยทั้งหมดที่อยู่ในห้องฉุกเฉินคือ 171 นาที และมัธยฐานของเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉินในกลุ่มที่นอนในโรงพยาบาล 261 นาทีไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มที่มารักษาในช่วงที่ห้องฉุกเฉินมีความแออัดและ ไม่แออัด อัตราการเสียชีวิตใน 7 วันของกลุ่มที่มารับการรักษาในช่วงที่มีและไม่มีภาวะแออัดเท่ากับ 3 ราย (6.4%) และ 2 คน (8.7%) ตามลำดับ
บทสรุป : การเกิดภาวะแออัดในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศิริราชคิดเป็นร้อยละ 74.3 ไม่พบความแตกต่างระหว่างระยะเวลาที่อยู่ในห้องฉุกเฉิน ระยะเวลารอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระยะเวลาในการรอเพื่อรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล อัตราการเสียชีวิต ระหว่างช่วงเวลาที่มีภาวะแออัด และไม่แออัดในห้องฉุกเฉิน
References
McCarthy ML, Aronsky D, Jones ID. The emergency department occupancy rate: a simple measure of emergency department crowding? Ann Emerg Med 2008;51:15-24.
Seatae S, Chakorn T. Validation of emergency department crowding score in Emergency unit, Siriraj Hospital. In: Seow E, Leong M, Woan LS, Lim SHC, editors. Proceedings of the International Conference on Emergency Medicine 2010 (ICEM 2010); 2010 June 9th-12nd; Singapore. p. 238-9.
Schull MJ, Vermeulen M, Slaughter G, Morrison L, Daly P. Emergency department crowding and thrombolysis delays in acute myocardial infarction. Ann Emerg Med 2004:44:577-85.
Fee C, Weber EJ, Maak CA, Bacchetti P. Effect of emergency department crowding on time to antibiotics in patients admitted with community-acquired pneumonia. Ann Emerg Med 2007;50:501-9.
Richardson D. Increase in patient mortality at 10 days associated with emergency department overcrowding. Med J Aust 2006;184:213-16.
Rondeau KV, Francescutti LH. Emergency department overcrowding: the impact of re-source scarcity on physician job satisfaction. J Healthc Manag 2005;50:327-40.
Kerem Y, Kulstad EB, Mistry CD, Sayger BM, Tekwani KL. Emergency Department crowd-ing is associated with reduced satisfaction scores in patients discharged from the emergency Department. West J Emerg Med 2013;14:11-5.
Lucas R, Farley H, Twanmoh J. Measuring the opportunity loss of time spent boarding admitted patients in the emergency depart-ment: a multihospital analysis. J Healthc Manag 2009;54:117-24.
Asplin BR, Magid DJ, Rhodes KV. A conceptual model of emergency department crowding. Ann Emerg Med 2003;42:173-80
Vermeulen M, Stukel T, Guttmann A, Rowe B, Zwarenstein M, Golden B et al. Eval-uation of an Emergency Department Lean Process Improvement Program to Reduce Length of Stay. Ann Emerg Med 2014;64:427-36.
Chan Hy, Lo S, Lee LLY, Lo Wyu, Yu Wc, Wu YF et al. Lean techniques for the improvement of patients' flow in emergency department. World journal of emergency medicine.2014;5:24-8.
Norgaard B, Mogensen CB. Blood sample tube transporting system versus point of care technology in an emergency department; effect on time from collection to reporting? A randomisled trial. Scand J Truama Re-susc Emerg Med 2012;20:71.
Leong W, Chen L, Yu P, Wei B, Wang C, Ying Yet al. The clinical situation of point-of-care testing and its future development at the emergency department in Shanghai. lab Autom. 2014;19:562-8.
Cheng I, Lee J, Mittmann N, Tyberg J, Ra-magnano S, Kiss A et al. Implementing wait-time reductions under Ontario government benchmarks (Pay-for-Results): a Cluster Randomized Trial of the Effect of a Physi-cian-Nurse Supplementary Triage Assistance team (MDRNSTAT) on emergency depart-ment patient wait times. BMC emergency medicine. 2013;13-7.
Jo S, Jeong T, jin YH! Lee JB, Yoon J. ED crowding is associated with inpatient mortality among critically ill patients admitted via the ED: post hoc analysis from a retrospective study. Am J Emerg Med. 2015;33:1725-31.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
บทความที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ถือเป็นเป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
กรณีที่บทความได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยแล้ว จะตีพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีสำเนาการพิมพ์ภายหลังหนังสือเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ผู้นิพนธ์ไม่สามารถนำบทความดังกล่าวไปนำเสนอหรือตีพิมพ์ในรูปแบบใดๆ ที่อื่นได้ หากมิได้รับคำอนุญาตจากวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย