ความเที่ยงตรงและแม่นยำของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย ในสถานการณ์จริงของผู้ป่วยวิกฤต

ผู้แต่ง

  • ธราธร ดุรงค์พันธุ์ โรงพยาบาลชลบุรี
  • ธารทิพย์ สร้อยสุวรรณ โรงพยาบาลชลบุรี
  • พรหทัย สร้อยสุวรรณ โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย, ภาวะเจ็บป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

บทนำ
การตรวจทำงห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point of care testing: POCT) เป็นเครื่องมือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกห้องปฏิบัติการกลาง มีข้อดีคือ ใช้ระยะเวลาการตรวจสั้น แพทย์สามารถทำได้เองหลังจากได้รับการฝึกฝนระยสั้น POCT ช่วยลดระยะเวลาในการตัดสินใจให้การรักษา แต่การศึกษาความเที่ยงตรงและแม่นยำของ POCT ของผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤตในแผนกฉุกเฉินยังมีจำกัด

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงและแม่นยำของ POCT สำหรับผู้ป่วยซึ่งมีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต

วิธีการศึกษา
งานวิจัยเชิงสังเกตย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่เข้ารับ กำรรักษาที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2563 โดยผู้ป่วยมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปี และมีภาวะเจ็บป่วยวิกฤตที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ หัวใจหยุดเต้น ช็อค หรือ ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น โดยตัวอย่างเลือดที่เก็บจากผู้ป่วยจะถูกตรวจด้วย POCT (CHEM 8, Blood Analyzer: Abbot) และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการกลางทันที เพื่อวิเคราะห์หาค่า Sodium (Na), Potassium (k), Bicarbonate (HCO3), Blood Urea Nitrogen (BUN), Creatine (Cr) และ Hematocrit (Hct) ตามลำดับ ค่าที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วย Correlation และเปรียบเทียบความแตกต่าง ด้วย Bland-Altman (BA) statistics นำเสนอในรูปแบบของ Correlation, Mean difference (MD) และ Limit of Agreement (LOA) ตามลำดับ

ผลการศึกษา
 ผู้ป่วยในงานวิจัยนี้จำนวน 100 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 56.6 ปี ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน 17.3 ปี สำเหตุการป่วยส่วนใหญ่ คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้น (ร้อยละ 67) POCT มีความสัมพันธ์ กับผลตรวจทางห้องปฏิบ ัติการกลางทางบวกในเกณฑ์ดี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในช่วง 0.80-0.94 Na มีค่า MD 0.53 และ LOA -7.66, 8.72 mEq/L, K มีค่า MD -0.10 และ LOA -2.30, 2.10 mEq/L, HCO3 มีค่ำ MD -3.74 และ LOA -11.13, 3.65 mEq/L, BUN มีค่า MD -3.30 และ LOA -27.62, 21.02 mg/dl, Cr มีค่ำ MD -0.26 และ LOA -1.20, 0.68mg/dl และ Hct มีค่า MD -0.56 และ LOA -10.30,9.18% ตามลำดับ K มีค่า MD อยู่ในช่วง LOA น้อยที่สุด (93%)

สรุปผลการศึกษา
ผลเลือดจาก POCT และห้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะมีความสอดคล้องกันอยู่ในเกณฑ์ดี มี MD แคบซึ่งแสดงถึง Accuracy ที่ดี แต่เมื่อพิจารณา Precision จะพบว่าค่า K HCO3 และ Hct มี LOA ซึ่งกว้าง เมื่อเทียบกับระดับที่ยอมรับได้ทางคลินิก ดังนั้น การนำ POCT เพื่อใช้ในการตัดสินใจการให้การรักษาผู้ป่วยกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน จึงต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลทำงคลินิกเป็นส่วนสำคัญด้วย

References

Nichols JH. Point of care testing. Clin Lab Med 2007;27(4):893-908. doi: 10.1016/j.cll.2007.07.003.

Pidetcha P, Ornvichian S, Chalachiva S. Accuracy and precision of the i-STAT portable clinical analyzer: an analytical point of view. J Med Assoc Thai 2000 Apr;83:445-50. PMID: 10808706.

Goldstein, L.N., Wells, M. & Vincent-Lambert, C. The cost-effectiveness of upfront point-ofcare testing in the emergency department: a secondary analysis of a randomized, controlled trial. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2019. doi:10.1186/s13049-019-0687-2

Goyal M, Pines JM, Drumheller BC, Gaieski DF. Point-of-care testing at triage decreases time to lactate level in septic patients. J Emerg Med 2010;38:578-81. doi: 10.1016/j.jemermed.2007.11.099.

Singer AJ, Thode HC Jr, Viccellio P, Pines JM. The association between length of emergency department boarding and mortality. Acad Emerg Med 2011;18:1324-9. doi: 10.1111/j.1553-2712.2011.01236.x.

Sun BC, Hsia RY, Weiss RE, Zingmond D, Liang LJ, Han W, et al. Effect of emergency department crowding on outcomes of admitted patients. Ann Emerg Med 2013;61:605-11.e6. doi: 10.1016/j.annemergmed.2012.10.026

Rooney KD, Schilling UM. Point-of-care testing in the overcrowded emergency department--can it make a difference? Crit Care 2014;18:692. doi: 10.1186/s13054-014-0692-9..

Alter DN. Point-of-Care Testing for the Emergency Department Patient: Quantity and Quality of the Available Evidence. Arch Pathol Lab Med 2021;145:308-19. doi: 10.5858/arpa.2020-0495-RA.

Rajsic S, Breitkopf R, Bachler M, Treml B. Diagnostic Modalities in Critical Care: Point-of-Care Approach. Diagnostics (Basel) 2021;11:2202. doi:10.3390/diagnostics11122202..

Steinfelder-Visscher J, Teerenstra S, Gunnewiek JM, Weerwind PW. Evaluation of the i-STAT point-of-care analyzer in critically ill adult patients. J Extra Corpor Technol 2008;40:57-60. PMID: 18389666

Chacko B, Peter JV, Patole S, Fleming JJ, Selvakumar R. Electrolytes assessed by point-of-care testing - Are the values comparable with results obtained from the central laboratory? Indian J Crit Care Med. 2011 Jan;15(1):24-9. doi: 10.4103/0972-5229.78219.

Gravala A, Myrianthes P. Comparison of point of care versus central laboratory measurements of hematocrit, hemoglobin and electrolyte concentrations. Heart lung 2017;46:246-50

Bland M. Sample size for a study of agreement between two methods of measurement[Internet].2004[cited 2021 Jan 1]. Available from: https://www-users.york.ac.uk/~mb55/meas/sizemeth.htm

Abbot corporation. I-stat CHEM8+ cartridge [Internet].2018[cited 2021 Jan 1].Available from: https://www.globalpointofcare.abbott/en/product-details/apoc/istat-chem8.html

Giavarina D. Understanding Bland Altman analysis. Biochem Med (Zagreb) 2015;25:141- 51. doi: 10.11613/BM.2015.015.

Purdal S. Accuracy, precision, validity and reliability[internet].2013[cited 2021 Jan 1]. Available from: https://communitymedicine- 4all.com/2015/06/23/accuracy-precision-validity-and-reliability/

Mirzazadeh M, Morovat A, James T, Smith I, Kirby J, Shine B. Point-of-care testing of electrolytes and calcium using blood gas analyzers: it is time we trusted the results. Emerg Med J. 2016 Mar;33(3):181-6. doi: 10.1136/emermed-2015-204669.

Hohmann C, Pfister R, Kuhr K, Merkle J, Hinzmann J, Miches G. Determination of electrolytes in critical illness patients at different ph ranges: Whom shall we believe, the blood gas analysis or the laboratory autoanalyzer?. Crit Care Res Pract 2019. doi:10.1155/2019/9838706

Chaisirin W, Wongkrajang P, Thoesam T, Praphruetkit N, Nakornchai T, Riyapan S, et al. Role of Point-of-Care Testing in Reducing Time to Treatment Decision-Making in Urgency Patients: A Randomized Controlled Trial. West J Emerg Med 2020;21:404-410. doi: 10.5811/westjem.2019.10.43655.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-14

How to Cite

1.
ดุรงค์พันธุ์ ธ, สร้อยสุวรรณ ธ, สร้อยสุวรรณ พ. ความเที่ยงตรงและแม่นยำของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย ในสถานการณ์จริงของผู้ป่วยวิกฤต. TJEM [อินเทอร์เน็ต]. 14 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];4(2):36-47. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJEM/article/view/259977

ฉบับ

บท

รายงานวิจัย

หมวดหมู่