เกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา

Main Article Content

ศศีนันท์ แก่นจันทน์หอม
สรายุทธ์ น้อยเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่ส่งผลการตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา 2) เพื่อศึกษาน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลสร้างแบบสอบถามโดยศึกษาจากการทบทวน วรรณกรรมและงานวิจัยต่างประเทศ แบบสอบถามได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (  = . 0.978) ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายในด้านต่างๆทั้ง 7 ด้าน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มและเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธี เฉพาะเจาะจง ( Purposive Sampling) จากงานสินค้ากีฬาและการท่องเที่ยวสันทนาการนานาชาติ คศ. 2017 วันที่ 23–26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ COEX Convention& Exhibition Center ประเทศเกาหลีใต้ (Seoul International Sport and Leisure Industry Show 2017.SPOEX,2017)   ซึ่งประกอบด้วย ผู้ผลิตสินค้า  นักการตลาด ผู้ผลิตสินค้า เจ้าของผลิตภัณฑ์ บริษัทผู้ผลิตสินค้ากีฬาต่างประเทศที่มีผู้จัดจำหน่ายสินค้าจำนวน 147 คน วิเคราะห์ด้วยข้อมูลค่าสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสันสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) สรุปผลการวิจัยดังนี้


     ผู้วิจัยได้เกณฑ์และน้ำหนักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน 7 ตัวแปร ซึ่งเรียงตามลำดับน้ำหนักความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ และการสนับสนุน (X7) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.590 ปัจจัยด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัท (X1) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.152 ปัจจัยด้านระดับความสัมพันธ์ (X3) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.096  ปัจจัยด้านการให้ความร่วมมือ (X6 ) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.087 ปัจจัยด้านการตลาด (X2) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.048 ปัจจัยความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง (X4) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.036 ปัจจัยด้านสินค้าและบริการ (X5) มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.028 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.904 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกำลังสองค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R2 ) ด้านอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อการตัดสินใจของตัวแปรเกณฑ์ (Y) คือเกณฑ์ในการตัดสินใจ มีค่าเท่ากับ 0.816 หรือ คิดเป็นร้อยละได้เท่ากับ 81 เปอร์เซ็นต์   


ได้สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา ดังนี้ 


     


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


Z' = .590 (Z7) + .152 (Z1) + .096 (Z3) + .087 (Z6) + .048 (Z2) + .036(Z4) + .028 (Z5)


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y' = .612 (X7) + .149 (X1) + .098 (X3) + .087 (X6) + .051 (X2) .028 (X4) + .028 (X5) - .005


 การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดในการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับผู้ผลิตที่ต้องการขยายตลาดเพื่อผลกำไรที่เพิ่มขึ้น การค้นพบเกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายทั้ง 7 ปัจจัยล้วนมีผลกระทบในเชิงบวก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้ผลิตจะเลือกผู้จัดจำหน่ายนั้นจะคำนึงถึงภาพลักษณ์และการสนับสนุน (X7) มาเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยปัจจัยด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัท(X1) ปัจจัยด้านระดับความสัมพันธ์ (X3) ปัจจัยด้านให้ความร่วมมือ (X6) ปัจจัยด้านการตลาด (X2) ปัจจัยด้านความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง (X4) และปัจจัยด้านสินค้าและบริการ (X5) อีกด้วย โดยมีความน่าเชื่อถือได้ถึง 81.6 %

Article Details

How to Cite
แก่นจันทน์หอม ศ. . ., & น้อยเกษม ส. . (2019). เกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียวในประเทศของผู้ผลิตสินค้าวิทยาศาสตร์การกีฬา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 11(1), 219–232. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/246405
บท
บทความวิจัย

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. 2543. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคม. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ปนัดดา แก้วตรีวงษ์. 2549. ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพทางนวัตกรรมกับผลประกอบการของธุรกิจส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการตลาด, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนต์ชัย พัดน้อย. 2551. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเกิดความภักดีต่อตราสินค้า บริษัทประกันวินาศภัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สัมมนา สีหมุ่ย. 2553. การศึกษาประสิทธิภาพการทางานเป็นทีมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนันต์ เกตุวงค์. 2534. หลักและเทคนิคการวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

Abratt, R. and L.F. Pitt. 1989, “Selection and Motivation of industrial distributor: a comparative analysis,” European Journal of Marketing, 23 (2): 144-53.

Abratt, R., J. L. C. Fourie and L. F. Pitt, 1985, Tenant mix: the key to a Successful Shopping Centre', Quarterly Review of Marketing, Vol. 10, No. 3.

Briglia, M. and A. Petroni. 2000. “A quality assurance- oriented methodology for handing trade-offs in supplier selection” International Journal of Physical Distribution & Logistic Management, 30 (2): 96-111.

Cavusgil, S.T., P.L. Yeoh and M. Mitri. 1995. 'Selecting foreign distributors: An expert systems approach', Industrial Marketing Management, 24 (4): 297–304.

Dacin, M.T., M.A. Hitt and E. Levitas. 1997. Selecting partners for successful international alliances: Examination of U.S. and Korean firms. Journal of World Business, 32: 3-16.

Da Silva, R.V., G. Davies and P. Naude. 2002. “Assessing customer orientation in the context of buyer/supplier relationships using judgmental modeling,” Industrial Marketing Management, 31(31): 241-52.

Fawcett, S.E., L.L. Stanley and S.R. Smith. 1997. “Developing a logistics capability to improve the performance of international operations.” Journal of business logistics, 18 (2): 101-27.

Kaleka, A. 2002. “Resources and capability driving competitive advantage in export markets: guidelines for industrial exporters.” Industrial Marketing Management. 31(4): 273-83

Morash, E.A., C.L.M. Groge and S.K. Vickery. 1996. “Strategic logistics capability for competitive advantage and firm success.” Journal of business logistics, 17(1): 1-22

Shankar, V. 1999. “New product introduction and incumbent response strategies: their inter-relationship and the role of multimarket contact.” Journal of Marketing Research, 36(9): 327-44.

Vickery, S., R. Calantone and C. Drooge. 1999. “Supply Chain Flexibility: an empirical study.” Journal of Supply Chain Management: A Global Review of Purchasing & Supply, 35 (3): 16-24.