การวิเคราะห์คิเนมาติกส์ของการปั่นจักรยานประเภทถนน

Main Article Content

ศุภณัฐ นาคเอี่ยม
วัชรี ฤทธิวัชร์
พรเทพ ราชนาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรทางคิเนมาติกส์ ได้แก่ มุมของข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก และจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายที่มีผลต่อความเร็วรอบขาในการปั่นจักรยานประเภทถนนของกลุ่มนักกีฬาสมัครเล่นและมืออาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักกีฬาจักรยานประเภทถนนสมัครเล่น 15 คน และมืออาชีพ 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ ทั้งหมด 6 ตัว ความเร็วกล้องในการจับภาพ 480 เฮิร์ต เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของจุดศูนย์ถ่วง (CG) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด(Maximum) ของตัวแปรทางคิเนมาติกส์ ได้แก่ มุมข้อสะโพกข้อเข่า ข้อเท้าและการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์ถ่วง (CG) และทำการเปรียบเทียบตัวแปรทางคิเนมาติกส์ระหว่างกลุ่มสมัครเล่นและมืออาชีพต่อความเร็วรอบขา โดยใช้สถิติ Pair t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย ในแต่ละช่วงรอบขาที่เปลี่ยนแปลงไป 70,80,90,100,110 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงผลการเปรียบเทียบกลุ่มนักปั่นจักรยานทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกช่วงรอบขาที่ทำการทดสอบ และในส่วนของค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของมุมข้อสะโพก มุมข้อเข่า และมุมข้อเท้าในแต่ละช่วงรอบขาที่เปลี่ยนแปลงไป 70,80,90,100,110 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงผลการเปรียบเทียบกลุ่มนักปั่นจักรยานทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
นาคเอี่ยม ศ. ., ฤทธิวัชร์ ว. ., & ราชนาวี พ. . (2019). การวิเคราะห์คิเนมาติกส์ของการปั่นจักรยานประเภทถนน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 11(3), 85–96. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/244562
บท
บทความวิจัย

References

Bateman, J. (2014). Influence of positional biomechanics on gross efficiency within cycling. Journal of Science and Cycling, 3(2), 4.

Costes, A., Turpin, N. A., Villeger, D., Moretto, P., & Watier, B. (2016). Influence of position and power output on upper limb kinetics in cycling. Journal of Applied Biomechanics, 32(2), 140-149.

Emanuele, U., & Denoth, J. (2012). Influence of road incline and body position on power–cadence relationship in endurance cycling. European Journal of Applied Physiology, 112(7), 2433-2441.

Emanuele, U., & Denoth, J. (2012). Power–cadence relationship in endurance cycling. European Journal of Applied Physiology, 112(1), 365-375.

Ericson, M. O., Nisell, R., & Németh, G. (1988). Joint motions of the lower limb during ergometer cycling. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy, 9(8), 273-278.

Ettema, G., Lorås, H., & Leirdal, S. (2009). The effects of cycling cadence on the phases of joint power, crank power, force and force effectiveness. Journal of Electromyography and Kinesiology, 19(2), e94-e101.

Hatze, H. (1994). Impact probability distribution, sweet spot, and the concept of an effective power region in tennis rackets. Journal of Applied Biomechanics, 10(1), 43-50.

Leirdal, S., &Ettema, G. (2011). The relationship between cadence, pedalling technique and gross efficiency in cycling. European Journal of Applied Physiology, 111(12), 2885-2893.

Quigley, E. J., & Richards, J. G. (1996). The effects of cycling on running mechanics. Journal of Applied Biomechanics, 12(4), 470-479.

Rittiwat, W. (2003). Biomechanical analysis of long jumpers male and female. Mahidol University.