ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย จากทั่วประเทศไทย ได้แก่ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงที่เป็นตัวแทนระดับจังหวัด จำนวน 295 คน ระดับภาค จำนวน 110 คน ระดับยุวชนทีมชาติไทย จำนวน 45 คน ระดับเยาวชนทีมชาติไทย จำนวน 30 คน และระดับทีมชาติไทย จำนวน 15 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 495 คน จากประชากรทั้งหมด 1,139 คน จากนั้นคัดเลือกแบบแบบโควตา และ แบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) 0.86 และ ค่าความเที่ยง (Reliability) 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยแบบยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และวิเคราะห์ความถดถอย (Multinomial Logistic Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทยมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงลำดับดังนี้ ด้านผู้นำ นโยบายและแผน ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ด้านการฝึกซ้อมและแข่งขัน ด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการกีฬา และด้านการสนับสนุนและสวัสดิการ (2) สมการพยากรณ์ความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ (1) สมการพยากรณ์ความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับยุวชนทีมชาติไทย เปรียบเทียบ กับระดับภาค ปัจจัยในการพยากรณ์ด้านผู้นำองค์กร นโยบาย และแผน มีความสำคัญสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) สมการพยากรณ์ความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับเยาวชนทีมชาติไทย เปรียบเทียบ กับระดับภาค ปัจจัยในการพยากรณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการกีฬา มีความสำคัญสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) สมการพยากรณ์ความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับทีมชาติไทย เปรียบเทียบ กับระดับภาค ปัจจัยในการพยากรณ์ด้านการฝึกซ้อมและแข่งขันมีความสำคัญสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2548). คู่มือการฝึกกีฬาวอลเลย์บอล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อาร์ต โปรเกรส.
เกษม นครเขต. (2521). “พลศึกษา: กีฬา” วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
กิติ คยัคคานนท์. (2530). เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เชษฐการพิมพ์.
เกียรติศักดิ์ สิทธิ. (2547). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมวอลเลย์บอลชายเพื่อร่วมแข่งขันกีฬาพลศึกษา แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยสิทธิ์ ภาวิลาส เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ และสุวัตร สิทธิหล่อ. (2550). วิทยาศาสตร์ การกีฬาสำหรับกีฬาเซปักตะกร้อ. การอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาเซปักตะกร้อ (B - Licence) ครั้งที่ 2. สถาบันพัฒนากีฬาตะกร้ออาชีพนานาชาติ.
นฤพนธ์ วงค์จตุรภัทร. (2554). “พ่อแม่ช่วยลูกให้เล่นเก่งขึ้นได้อย่างไร มุมมองทางจิตวิทยาการกีฬา”. สารวิทยาศาสตร์การกีฬา, 12 (130) : 5 – 6.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2543). นโยบายและการวางแผนหลักการและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
รัชนี ขวัญบุญจัน. (2547) การจัดทำแผนการพัฒนาการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : การกีฬาแห่งประเทศไทย.
วิจิตร อาวะกุล. (2533). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส พรินติ้งเฮาส์.
สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย. (2555). แผนยุทธศาสตร์กีฬาวอลเลย์บอล พ.ศ. 2556 – 2560.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2543). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี.
อเนก ช้างน้อย. (2527). “การพัฒนาพลศึกษาและการกีฬาในสถาบันอุดมศึกษา.ศึกษาศาสตร์. 12(1): 179 - 187.
Chelladurai, P. (2006). Human Resource Management in Sport and Recreation. (2nded.). United States: Human Kinetics.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.