การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ของประชาชนไทย ประจำปี 2561

Main Article Content

นิรันตา ศรีบุญทิพย์
จักรกฤษณ์ พลราชม
ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ
อดุลย์ ฉายพงษ์

บทคัดย่อ

การสื่อสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพเป็นภารกิจสำคัญของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ     การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2561 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 2,889 คน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่ออยู่ในระดับปานกลาง โดยสื่อที่กลุ่มตัวอย่างเข้าถึงมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์/เคเบิลทีวี บุคลากรทางสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพอยู่ในระดับมาก และพบว่า การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ (r = 0.381, 0.477 และ 0.348 ตามลำดับ) ผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบรวมถึงการวางแผนพัฒนาระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเสริมสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ เพื่อการเสริมสร้างพฤติกรรมในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชนต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรีบุญทิพย์ น. . ., พลราชม จ. . ., ชุ่มเกษรกูลกิจ ป. ., & ฉายพงษ์ อ. . (2020). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ของประชาชนไทย ประจำปี 2561. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 12(3), 44–57. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/244897
บท
บทความวิจัย

References

Becker, Samuel L. (1978). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Bloom, BS. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mcgraw – Hill.

Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control. (2015). Perception of Thai citizens’ toward Ebola Virus Disease (EVD) in 2015. Bangkok: Danex Intercorporation Co.,Ltd.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2013). Strategie Plan DDC 2013. Nonthaburi: Planning Devision, Department of Disease Control, Ministry of Public Health.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2015). Strategie Plan DDC 2015. Nonthaburi: Planning Devision, Department of Disease Control, Ministry of Public Health.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). Summary of selection results in risk communication for ordinary people in 2018. Nonthaburi: Bureau Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control, Ministry of Public Health.

Hunt, Todd and Ruben Brent D. (1993). Mass communication: Producer and consumers. New York: Harper College Publishers.

Kotchakorn Sommang. (2014). Factors related to influenza preventive behavior among patients at outpatient department, King Narai Hospital. Journal of Health Education, 37(126), 8-21.

Malinee Sompopcharoen. (2013). Analysis and evaluation of perception of information about H1N1 flu or Swine flu among Thai people. Journal of Public Relations and Advertising, 6(1), 17-30.

Melvin L. Defleur. (1970). Theories of Mass Communication. (2nd ed.). New York: David Mckey Co.,Ltd.

Prakong Kannasoot. (1999). Statistics for Behavioral Science Research. Bangkok: Chulalongkorn University.

Schramm, W. (1954). Channels and audience in handbook of communication. Chicago: Rac Mc Nelly College Publishing Company.

Vichan Pawan et al. (2018a). Perception of information, knowledge and protecting behavior of diseases and health hazard of Thai citizens in 2016. Journal of Health Science Research, 11(1), 70-79.

Vichan Pawan et al. (2018b). Evaluation of perception of information in disease and health hazard, prevention and control behaviors of disease and image of the Department of Disease Control of the Thai People during B.E.2017. Bangkok: Aksorn Graphic & Design Co., Ltd.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.