การเปรียบเทียบผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อการฟื้นตัวของแรงและระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดในนักกีฬาฟุตซอล

Main Article Content

ณัฐพงษ์ ทองลอย
วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อการฟื้นตัวของแรงและระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาฟุตซอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 เพศชาย อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 17 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนเข้ารับโปรแกรมที่ทำให้เกิดความล้าด้วยเครื่องไอโซคิเนติก แล้วเข้ารับการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ คือ การใช้โฟมโรลลิ่ง และการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหว เป็นเวลา 8 นาที การทดลองแต่ละรูปแบบจะเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ทำการบันทึกระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและค่าแรงเชิงมุมสูงสุดของกล้ามเนื้อ ก่อนให้โปรแกรมที่ทำให้เกิดความล้า ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 12 นาที นำผลมาวิเคราะห์ ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่าทีแบบเป็นอิสระ (Independent t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและค่าแรงเชิงมุมสูงสุดของกล้ามเนื้อ ก่อนให้โปรแกรมที่ทำให้เกิดความล้า ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 12 นาที


          ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของแรงเชิงมุมสูงสุดของกล้ามเนื้อและค่าเฉลี่ยของระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดของการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหวเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม หลังการทดลองทันที ไม่พบความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มของการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหว ก่อนการทดลองและหลังการทดลองทันทีพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหวสามารถฟื้นตัวของแรงได้ เนื่องจากค่าเฉลี่ยแรงเชิงมุมสูงสุดของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และสามารถลดระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดได้

Article Details

How to Cite
ทองลอย ณ. . ., & ลี้มิ่งสวัสดิ์ ว. . . (2019). การเปรียบเทียบผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการฟื้นตัวแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อการฟื้นตัวของแรงและระดับความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดในนักกีฬาฟุตซอล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 11(1), 11–22. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/245869
บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอล T-Certificate: Futsal Referee Guide. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมพลศึกษา. (2558). ลักษณะของสัดส่วนร่างกายและสมรรถภาพทางกลไกของนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วีรวรรณ พริ้นติ้งค์ แอนด์ แพ็คเก็จจิ้ง.

ณัฐชนนท์ ซังพุก, บุญส่ง โกสะ, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และณัฐยา แก้วมุกดา. (2559). ผลของรูปแบบการฟื้นสภาพภายหลังการออกกำลังกาบที่มีต่อระดับความเข้มข้นของกรดแลคติกและอัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 8(2) 159-174.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2554). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพมหานคร: ตีรณสาร.

รัชฎา แก่นสาร์ และคณะ. (2557). สรีรวิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

American College of Sports Medicine. (2000). Guidelines for Exercise Testing and Training of the American College of Sports Medicine: Baltimore, MD: Williams & Wilkins.

Curran, P. F., Fiore, R. D. and Crisco, J. J. (2008). A comparison of the pressure exerted on soft tissue by 2 myofascial rollers. Journal of sport rehabilitation, 17, 432.

de Moura, N. R., Cury-Boaventura, M. F., Santos, V. C., Levada-Pires, A. C., Bortolon, J., Fiamoncini, J., Pithon-Curi, T. C., Curi, R. and Hatanaka, E. (2012). Inflammatory response and neutrophil functions in players after a futsal match. The Journal of Strength & Conditioning Research, 26, 2507-2514.

Edmunds, R., Dettelbach, A., Dito, J., Kirkpatrick, A., Parra, A., Souder, J., Stevenson, T. and Astorino, T. A. (2016). Effects of foam rolling versus static stretching on recovery of quadriceps and hamstrings force. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 20, 146.

Foss, Merle L, & Keteyian, Steven J. (1998). Fox's Physiological Basis for Exercise and Sport: William C. Brown.

MacDonald, G. Z., Penney, M. D., Mullaley, M. E., Cuconato, A. L., Drake, C. D., Behm, D. G. and Button, D. C. (2013). An acute bout of self-myofascial release increases range of motion without a subsequent decrease in muscle activation or force. The Journal of Strength & Conditioning Research, 27, 812-821.

McArdle, William D., Katch, Frank I., & Katch, Victor L. (2000). Essentials of exercise physiology / William D. McArdle, Frank I. Katch, Victor L. Katch: Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins, c2000.

Ramos-Campo, D., Rubio-Arias, J., Carrasco-Poyatos, M. and Alcaraz-Ramón, P. (2016). Physical performance of elite and subelite Spanish female futsal players. Biology of Sport, 33(3), 297-304.

Schroeder, A. N. and Best, T. M. (2015). Is self myofascial release an effective preexercise and recovery strategy? A literature review. Current sports medicine reports, 14, 200-208.

Vaeyens, R., Lenoir, M., Williams, A. M. and Philippaerts, R. M. (2007). Mechanisms underpinning successful decision making in skilled youth soccer players: An analysis of visual search behaviors. Journal of Motor Behavior, 39, 395-408.

Vigotsky, A. D., Lehman, G. J., Contreras, B., Beardsley, C., Chung, B. and Feser, E. H. (2015). Acute effects of anterior thigh foam rolling on hip angle, knee angle, and rectus femoris length in the modified Thomas test. Peer Journal, 3, 1281.

Woods,K., Bishop,P., and Jones,E. 2007. Warm-Up and Stretching in the Prevention of Muscular Injury. Sports Medicine. 37(12): 1089-1099