รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สัญชัย ห่วงกิจ
วีระพันธ์ ลีธนะกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน และ (3) เพื่อเสนอแนะการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดยใช้ผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายที่พักอาศัยในชุมชน จำนวน 420 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยทางสังคม และการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ โดยใช้ (1) ค่า t-test ค่า f - test (2) ค่าไค-สแคร์ว chi-square test (3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) (4) ค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple Hierarchy Regression Analysis) และ (5) วิเคราะห์องค์ประกอบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)


ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 โดยมีค่าน้ำหนักของตัวแปรเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ระดับสังคมในชุมชน ระดับชุมชน ระดับองค์การ ระดับระหว่างบุคคล

  2. การเปรียบเทียบปัจจัยทางสังคม และการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ.01 โดยมีค่าน้ำหนักของตัวแปรเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การวางแผน การจัดองค์การ ด้านบุคคล การสั่งการ ด้านกระบวนการ การประสานงาน และด้านการจัดสถานที่

3. รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร คือ การให้มีศูนย์ออกกำลังกายที่มีกิจกรรมการออกกำลังกายหลากหลายและสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีสิ่งอำนวยความสะดวก บรรยากาศร่มรื่น พร้อมอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะกับทุกกลุ่มวัย

Article Details

How to Cite
ห่วงกิจ ส. ., & ลีธนะกุล ว. . (2020). รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(1), 155–164. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/248364
บท
บทความวิจัย

References

Amornsriwatanakul, A., Nakornkhet, K., & et al. (2016). Results from Thailand’s 2016 report card on physical activity for children and youth. Journal of Physical Activity and Health, 13(s2), S291-S298.

Choowattanapakorn, & Tassana. (1999). The social situation in Thailand: The impact on elderly people. International Journal of Nursing Practice, 5(2), 95-99.

De Negreiros Cabral, K., Perracini, M. R., & et al. (2013). Effectiveness of a multifactorial falls prevention program in community-dwelling older people when compared to usual care: Study protocol for a randomised controlled trial (Prevquedas Brazil). BMC Geriatrics, 13(1), 27.

Deaton, A. S., & Paxson, C. H. (1997). The effects of economic and population growth on national saving and inequality. Demography, 34(1), 97-114.

Jitapunkul, S., & Wivatvanit, S. (2008). National policies and programs for the aging population in Thailand. Ageing international, 33(1-4), 62-74.

Joreskog, K., & Sorbom, D. (1996). PRELIS 2 user's reference guide: Scientific Software.

Thanakwang, K., & Soonthorndhada, K. (2011). Mechanisms by which social support networks influence healthy aging among Thai community-dwelling elderly. Journal of Aging and Health, 23(8), 1352-1378.

World Health Organization. (2014). Regional strategy for healthy ageing. Office for South-East Asia.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.