โปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะการทุ่มของนักกีฬาเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะ การทุ่มยูโด 2 ท่า ได้แก่ ท่าโมโรเต เซโออิ นาเงะ และท่าโอโกชิ ซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการทดลอง (E1) และหลังการทดลอง (E2) และปรียบเทียบผลของทักษะการทุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และ 8 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายูโดเยาวชนของ สปป. ลาว อายุระหว่าง 14 - 18 ปี ทั้งหมด 20 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจ แบบบันทึกคะแนนทักษะการทุ่ม 2 ท่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำกลุ่มเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการวิเคราะห์คะแนนของทักษะการทุ่มทั้ง 2 ท่า ที่ได้จากการทดสอบระหว่างการทดลองและหลังการทดลองมีประสิทธิภาพ E1/E2 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของทั้ง 2 ท่า ก่อนและหลังการฝึกพบว่า มีค่าคะแนน 81/87 และ 83/91 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมในใจมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
- ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำภายในกลุ่มตัวอย่างของทักษะการทุ่มท่าโมโรเต เซโออิ นาเงะ มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะการทุ่มท่าโอโกชิ มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทักษะการทุ่มทั้ง 2 ท่าของกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 4, สัปดาห์ที่ 4 กับสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 8 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Amorntat Akkapoo. (2008). Judo’s training problems in sports schools under, the office of Sport and Recreation Development, Ministry of Tourism and Sports (Master’s thesis), Srinakharinwirot University.
Anon Pumkhun. (2005). Effects of pre - and post - penalties imagery practice on penalty kick accuracy in football (Master’s thesis), Kasetsart University.
Chanwit Intharak. (2016). Effect of visualization training with relaxation instrumental music that affects physical relaxation situational anxiety and accuracy in dart throwing in young athletes. Chonburi: Faculty of Sports Science, Burapha University.
Guillot, A., Nadrowska, E., & Collet, C. (2009). Using motor imagery to learn tactical movements in basketball. Journal of Sport Behavior, 32, 189 - 206.
Hall, E., & Erffmeyer, E. S. (1983). The effect of visuo - motor behavior rehearsal with videotaped modeling on free throw accuracy of inter - collegiate female basketball players. Journal of Sport Psychology, 5, 343 - 346.
Hasan Abdi, Elham Mahmoodifar, Hassan Gharayagh Zandi and Mohammadsaleh Abdi. (2012). The effect of mental and physical practice and its combination on badminton short serve learning. European Journal of Experimental Biology, 2(4), 909 - 912.
Kavoura Anna. (2009). An imagery intervention for highly skilled judo athletes (Master’s thesis), University of Jyväskylä. Retrieved from https://jyx.jyu.fi/bitstream/handle/ 123456789/22438/URN_NBN_fi_jyu-200911174414.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Kusuma Bouayai. (2015). Comparative effects of plyometric training with medicine ball and elastic band on speed of Judo throwing. Chiangmai University.
Narumol Chansuk, & Peerapong Boonsiri. (2018). The effects of imagery training on the archery precision of archers in Lampang Province (Master’s thesis), Institute of Physical Education Chiang Mai Campus.
Nataorn Teekayupuk. (2014). Scoring rubrics construction of judo skills for undergraduate students of Kasetsart University (Master’s thesis), Kasetsart University.
Nomura, T. (1999). Gijutsu kyouka kouza (Technical Seminar). Kindai Judo (Modern Judo), 21(4), 26 - 27.
Nopporn Tasnaina. (2011). Badminton trainer scripture. Nakhon Si Thammarat: Walailak University.
Nopporn Tasnaina. (2015). Selected substances for badminton trainers. Chonburi: Faculty of Sports Science, Burapha University.
Ratdech Kruatiwa. (2010). The effect of music listening combined with imagery training on accuracy of Basketball Free – Throw (Master’s thesis), Srinakharinwirot University.
Sasima Pakulanon, & Nipawan Kantha. (2015). The results of serving skill training coupled with mental rehearsal with music listening on serving precision in Sepak Takraw athletes, Mae Fah Luang University. Chiang Rai: Office of Health Sciences Mae Fah Luang University.
Sato, N. (2005). JUDO waza no daihyakka (Encyclopaedia of JUDO techniques). Baseball Magazine sha.
Suebsai Bunweerabutr. (1998). Sports psychology. Chonburi: Chonburi Printing.
Supranee Kwanboonchan. (1998). Psychology of Sports. Bangkok: Thai Wattana Panich.
Suthasinee Vechprahman, Mayuree Supawibun, & Phichit Muangnapho. (2012). Effects of Anapanasati meditation and visualization on basketball penalty shootability. Bangkok: Faculty of Physical Education Srinakharinwirot University.