รูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา

Main Article Content

สืบสกุล ใจสมุทร
นภพร ทัศนัยนา
ประวิทย์ ทองไชย
รังสฤษฏ์ จำเริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อนำไปสร้างรูปแบบ เมื่อได้รูปแบบจึงนำไปตรวจสอบความเหมาะสมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เพื่อยืนยันว่ารูปแบบสามารถนำไปทดลองใช้ได้จริง


          ผลการวิจัยพบว่า ผลจากการสร้างรูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย การทำงาน 4 ด้าน (PIER Model) คือ 1) วางแผน 2) การนำไปปฏิบัติ 3) ประเมินผล 4) สะท้อนผล โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) รวมกลุ่ม ผู้ฝึกสอนกีฬาจำนวน 4 - 8 คน แต่งตั้งคณะกรรมการประจำกลุ่ม กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ 2) ค้นหาปัญหา และสิ่งที่ต้องการพัฒนา คือ ให้สมาชิกในกลุ่มระบุปัญหา และสิ่งที่ต้องการพัฒนาของตัวเอง พร้อมทั้งร่วมกันจัดลำดับของปัญหา และสิ่งที่ต้องการพัฒนา สมาชิกร่วมกันนำเสนอสาเหตุหรือที่มาของปัญหา สมาชิกร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุหรือที่มาของปัญหา 3) ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา ผู้ฝึกสอนร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา 4) การนำไปสู่การปฏิบัติและประเมินผล ผู้ฝึกสอนนำกิจกรรมไปทดลองใช้ และประเมินผล และ 5) สะท้อนผล ผู้ฝึกสอนร่วมกัน สรุป วิพากษ์ และอภิปรายผลจากการนำไปทดลองใช้ ด้วยทบทวนผลหลังปฏิบัติงาน (AAR: After Action Review) โดยมีกระบวนการจัดการความรู้สอดแทรกอยู่ทุกกระบวนการ 3 ขั้นตอนตอนคือ 1) การแสวงหาความรู้ 2) การจัดเก็บความรู้  และ 3) การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้

Article Details

How to Cite
ใจสมุทร ส. ., ทัศนัยนา น. ., ทองไชย ป. ., & จำเริญ ร. . (2021). รูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 67–80. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/250538
บท
บทความวิจัย

References

Chuchat Phuangsomchit. (2015). Professional Learning Community. Lecture documents at the college. Phang-nga community, Phang-nga province on December 28, 2015. Bangkok; (n.p).

Institute of Physical Education. (2017). Strategy Institute of Physical Education 2018-2022. Retrieved from www.http://ipe.ac.th

Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sport Development Plan No.6 (2017-2021). Bangkok: Office of the War Veterans Organization.

Nantanat Nantaphong. (2018). Professional Learning Community: PLC. Documentation for student experience coaching. Retrieved from http://www.yupparaj.ac.th/yrc/index.php/news/view/1025

Ofifice of Chumphon Primary Educational Service Area 1. (2016). Management guidelines for educational quality development. Document for workshop. Hansa JB Hotel, Hat Yai.

Office of Secondary Educational Service Area 17. (2017). Guidelines for PLC to learner quality development Thailand 4.0. Bangkok: Office.

Ofifice of Tak Primary Educational Service Area 1. (2017). Process PLC plan. Retrieved from http://www.takesa1.go.th/main56/note/pdf/PLCAnubanTAK2.pdf

Office of the Basic Education Commission. (2018). Performance manual for PLC process training. Retrieved from http://www.secondary5.go.th/main/?q=download/file/fid/9217

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prikwan Graphic Company. Office of the Education Council.

Stoll, L. & Louis, K.S. (2007). Professional Learning Community. New York, Open University Press.

Suraphon Thamromdee et al. (2010). Hermitage Art Research: Research and Development of Contemplative Learning Community. Academic Learning Project for Change No.8, Nakhonpathom: Amy Enterprise.

Vescio, V., Ross, D. & Adams, A. (2008). A review of research on the impact of professional learning communities on teaching practice and student learning. Teaching and Teacher Education, 24, 80–91.

Vicharn Panich. (2012). Learning Creativity for Learner in 21st Century. Bangkok: Tathata Publication Co.Ltd.

Vicharn Panich. (2013). How to teach in the 21st century. Retrieved from http://elc.psu.ac.th/elcpsu_2012/phocadownload/ppt_seminar/130325_teach_in_21/130325_teach_in_21.pdf