แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยวตลาดโก้งโค้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เบญจวรรณ ขวัญมา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเชิงปริมาณนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ส่วนประสมทางการตลาด และองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยวตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่า T – test และ F – test ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยป็นคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ ซึ่งผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพนักเรียน นักศึกษา และมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท


         นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก   (ค่าเฉลี่ย = 4.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย = 4.55) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (ค่าเฉลี่ย = 4.44) ด้านช่องทางการจัดการจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย = 4.43) ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 4.42) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย= 4.37) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย = 4.06) ตามลำดับ


         ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อการเดินทางตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.45) รองลงมาได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.37)  ด้านการเข้าถึง (ค่าเฉลี่ย = 4.25) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย = 4.10) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านที่พัก (ค่าเฉลี่ย = 3.96) ตามลำดับ


          ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว ทางด้านปัจจัยผลักและปัจจัยดึง เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ได้แก่ ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวลง Social Media (ค่าเฉลี่ย = 4.47) ต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าในตลาดโก้งโค้ง (ค่าเฉลี่ย = 4.46) เพื่อท่องเที่ยวชมตลาดโก้งโค้ง (ค่าเฉลี่ย = 4.41) และเพื่อท่องเที่ยวชมสถาปัตยกรรมของตลาดโก้งโค้ง (ค่าเฉลี่ย = 4.40) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ขวัญมา เ. . (2021). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยวตลาดโก้งโค้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 125–134. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/250661
บท
บทความวิจัย

References

Chanya WaLuang. (2007). Factors Influencing Thai Tourism Behavior in Koh Samui, Surat Thani Province (Master’s thesis), Srinakharinwirot University.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory (2nd ed.). Sydney: Hodder Education.

EDT Guide. (2011). Kong Kong market Ayutthaya. Retrieved from https://www.edtguide.com/travel/302391/Kongkhong-Market1

Kotler P., & Amstrong G. (2006). Marketing: An introduction an asian perspective. New Jersey: Upper Saddle River: Prentice-Hall.

Kotler, P. (2006). Marketing for Hospitality and Tourism (4th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Kittiya Manothamraksa. (2016). A study of motivation and satisfaction affecting to Thai tourists’ behavior: A case study of Ayothaya floating market (Master’s thesis), Bangkok University.

Krairoek Pinkaeo. (2012). Cultural tourism. Retrieved from http://tourism-dan1.blogspot.com/

Lertporn Prasakul. (2012). Tourism Behavier (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Manasinee Boonmeesrisanga. (2013). Factors affecting Thai tourists’ satisfaction and behavior toward Chatsila Market in Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. Veridian E-Journal, 6(1), January – April, 2013.

Sangdeuan Ratinthon. (2012). The Push and Pull Factors Affecting to The Decisions of Chinese Tourists in Choosing Thailand as their Destination. Academic Journal of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 18(1), 84-104

Tourism Athority of Tailand. (2018). Strategic for tourism in Thailand 2015-2017. Retrieved from http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114