สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตรายวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตกับเกณฑ์มาตรฐาน และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการเรียนวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์ ประชากรเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 210 คน ใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของกรมพลศึกษา (Health - Related Physical Fitness) ประกอบด้วย 5 รายการ นั่งงอตัวไปข้างหน้า แรงบีบมือ ยืน - นั่งบนเก้าอี้ 60 วินาที ยืนยกเข่า ขึ้นลง 3 นาที และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเที ยบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพก่อนและหลังการเรียนวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired-sample t - test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
- นิสิตชายมีสมรรถภาพทางกายก่อนการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ปกติ 3 รายการ คือ ดัชนีมวลกาย แรงบีบมือ และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ส่วนนั่งงอตัวไปข้างหน้า และยืน - นั่งบนเก้าอี้ 60 วินาที อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน ภายหลังการเรียนรายวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์สิตชายมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ 4 รายการ ยกเว้น รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้าที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
2. นิสิตหญิงมีสมรรถภาพทางกายก่อนการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน 4 รายการ ได้แก่ นั่งงอตัวไปข้างหน้า แรงบีบมือ ยืน - นั่งบนเก้าอี้ 60 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ภายหลังเรียนรายวิชากิจกรรมนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์นิสิตหญิงมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้ง 4 รายการ ยกเว้นดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน ทั้งก่อนและหลังการทดสอบ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Charoen Krabuanpatana. (2009). Stretching. Bangkok: Faculty of Education, Kasetsart University.
Department of Physical Education. (2019). Test and standard of physical fitness of people aged 19 - 59 years. Retrieved from https://www.dpe.go.th/manual-files-411291791797
Electronic Transactions Development Agency. (2019). Thailand Internet User Behavior 2019. Retrieved from https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2019.html
Kasem NakornKhet. (2018). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Physical Activity Research Center. Retrieved from http://padatabase.net/uploads/files/01/doc/475_.pdf
Khamla Musika. (2005). The effects of recreational program for mental health promotion on Chulalongkorn University students (Master’s thesis), Chulalongkorn University.
Kilpatric, M., Hebert, E., & Bartholomew, J. (2005). College student's motivation for physical activity: Differentiating men’s and women’s motives for sport participation and exercise. Journal of American College Health, 54(2), 87 - 94.
Liengjindathawon, O. (2016). Change management of Rajabhat University toward education stand control policy. Proceeding The 4th Suan Sunadha Academic National Conference on “Research for Sustainable Development”. Suan Sunadha Rajabhat University. 489 - 508.
Ministry of Tourism & Sports. (2017). The National Sports Development Plan No.6. Retrieved from http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8408
National Statistical Office. (2016). The 2015 Physical Activity Survey. Retrieved from http://www.nso.go.th/sites/2014
Orjira Thalithong. (2018). Health related physical fitness of lower secondary school students Songkhla Province. Academic Journal Institute of Physical Education, 10(3), 271 - 284.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2017 - 2021). Retrieved from http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf
Sombat Karnjanakit. (2001). Recreation and Tourism Industry. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Supitr Samahito. (2006). Tests and health related physical fitness standards for Thai children aged 7 - 18 years. Research Report. P.S. Prince, Nonthaburi.
Tavorn Kamutsri. (2017). Physical Fitness Conditioning. Bangkok: Media Press.
Thaihealth. (2018). Physical Activity Plan (2018 - 2030). NC: Concept.
Thanomwong Kritpet, & Sitha Phongphibool. (2011). Physiology of Exercise. Faculty of Sports Science.
Tirajit Bunsaen. (2019). Body Mass Index. Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/th/ healthdetail.asp?aid=1361
World Health Organization. (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health, Blossoming. Retrieved from https://www.who.int/dietphysicalactivity/global-PA-recs-2010.pdf