ผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบวงจรที่มีต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบวงจร โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีนักกีฬากรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ารับการทดสอบ จํานวน 10 คน ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังการฝึก สรุปได้ดังนี้
- จากการทดสอบแรงบีบมือ พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 1.55 กิโลกรัม
- จากการทดสอบแรงเหยียดขา พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 5.36 กิโลกรัม
- จากการทดสอบยืนกระโดดไกล พบว่า พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 5.90 เซนติเมตร
- จากการทดสอบยืนก้มตัว พบว่า ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 3.10 เซนติเมตร
- จากการวัดปริมาตรความจุปอด พบว่า ความจุปอดเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 345 มิลลิลิตร
- จากการทดสอบวิ่งเก็บของ 40 เมตร พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้น โดยได้ค่าเฉลี่ย ผลต่าง เท่ากับ 0.41 วินาที
- จากการทดสอบวิ่งเร็ว 50 เมตร พบว่า ความเร็วเพิ่มขึ้น โดยได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ 0.43 วินาที
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมพลศึกษา. (ม.ม.ป.). Physical Best รูปแบบใหม่ของการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : ดอกเบี้ย.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). เทคนิคการฝึกความเร็ว. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฐิติกร ศิริสุขเจริญพร. (2540). วิทยาศาสตร์การกีฬา, กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
มงคล แฝงสาเคน. (2537). หลักและวิธีการฝึกกีฬา. มหาสารคาม: ภาควิชาพลศึกษา วิทยาลัยครูมหาสารคาม.
Basmajian, John VI. (1973). Exercise and Sport Science Reviews. New York: Academic Press, Vol.1.
Carl, E. K. and Darniel, D. A. (1981). Modern Principles of Athletic Training. 5th ed. St.Louis : C.V. Mosby.
Chu, D.A. and Plummer. (1984). “The Language of Plyometric”. National Strength and Conditioning Association Journal. 6 (November 1984) 30-31.
Dintimin, George B. (1984). How to Run Faster. New York: Leisure Press.
Dintimin, George B. & Ward, Robert D. (1988). Sport Speed. Champaign IL: Leisure Press.
Gambetta, V. (1981). “Plyometric Training”. Track and Field Coaching Manaul. (pp. 58-59), West Point, New York : Leisure Press.
Gambetta, V. (1987). “Principle of Plyometrics Training". Track and Field Technique. 97(2) : 3899-3104.
John Imison. (1997). Plyometrics Introduction. [On-line], A variable : http://www.vision.net.ac/-jimison/plyometrics.