ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทยที่มีต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิกและความสามารถในการยกน้ำหนัก 1RM ในท่านอนราบดันอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทยที่มีต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิกและความสามารถในการยกน้ำหนัก 1RM ในท่านอนราบดันอก กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทย จำนวน 18 คน และทำการฝึกซ้อมด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถภาพแอนแอโรบิก ความสามารถในการยกน้ำหนัก 1RM ในท่านอนราบดันอก ด้วย dependent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า
- ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพแอนแอโรบิก หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการ ทีมชาติไทย เท่ากับ 476.53
159.59 วัตต์ และก่อนการฝึก เท่ากับ 453.47
150.08 วัตต์ ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังการฝึกเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึก (23.06 วัตต์)
- ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสมรรถภาพแอนแอโรบิกก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ค่าเฉลี่ยความสามารถในการยกน้ำหนัก 1RM ในท่านอนราบดันอก หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทย เท่ากับ 143.11
45.29 กิโลกรัม และก่อนการฝึก เท่ากับ 134.11
45.29 กิโลกรัม ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังการฝึกเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึก (9.00 กิโลกรัม)
4. ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความสามารถในการยกน้ำหนัก 1RM ในท่านอนราบดันอก ก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกนักกีฬายกน้ำหนักคนพิการทีมชาติไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Faigenbum, A.D. (1993). The effects of Strength training on Children An Evaluation of a Twice Per Week Program. Dissertation Abstracts International. 53, 2735 - 4A.
International Paralympic Committee Power lifting Rules and Regulations. (2014). World Para Powerlifting Technical Rules and Regulations. Retrieved from https://www.paralympic.org/sites/default/files/2019-12/World%20Para%20Powerlifting___February%202019.pdf
Paralympic Committee of Thailand. (2016). Powerlifting. Retrieved from http://www.paralympicthai.com/sport/Powerlifting.html
Sports Authority of Thailand. (2007). Bodybuilding Training Guide. Bangkok: Academic Development and Teaching Media, Personnel Development Department.
Sports Center for Excellence, Institute of Physical Education, Lampang Campus. (2010). Lampang Center for Sport Excellence. Retrieved from http://www.ipelp.ac.th/Center%20Sport/visaitus-patya.html
Westcott, W.L. (1979). Training for power sports - Part 1 training. Journal of Physical Education. 77, 31 - 33.
Weltman, M., and Stanford, W. (1978). Super maximal training in females: Effects on anaerobic power output, anaerobic capacity and anaerobic power. Journal of Sports and Medicine and Physical Fitness, 18(9), 250 - 260.