บริบทการทําวิจัยกับความคาดหวัง และสภาพที่เป็นจริง ของความรู้และทักษะในการทําวิจัยของคณาจารย์ ในสถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ของสถาบันการพลศึกษาภาคเหนือเกี่ยวกับการวิจัย และเพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงกับความคาดหวัง ความรู้และทักษะการทําวิจัยของคณาจารย์สถาบัน การพลศึกษาภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือคณาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ ในปีการศึกษา 2556 คํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกลุ่มตัวอย่างของ Darwin Hendel เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 102 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับ บริบท ที่เกี่ยวข้องกับการทําวิจัยของคณาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ 2) แบบประเมิน ความสภาพที่เป็นจริงกับความคาดหวัง ของความรู้และทักษะการทําวิจัยของคณาจารย์สถาบันการ พลศึกษาภาคเหนือ ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน พบว่า ทุกข้อมีค่า ความสอดคล้องของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระหว่าง 0.67- 1.00 ส่วนผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นของ เครื่องมือโดยอาศัยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์ ความเที่ยงของแบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยของคณาจารย์สถาบันการพลศึกษา เท่ากับ 0.945 และแบบประเมินความสภาพที่เป็นจริงกับความคาดหวัง ความรู้และทักษะการทําวิจัย ของคณาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.985 วิเคราะห์ ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ เปรียบเทียบความสภาพที่เป็นจริงกับความคาดหวัง ความรู้และทักษะการทําวิจัยของคณาจารย์สถาบัน การพลศึกษาภาคเหนือ ด้วยการทดสอบค่าที แบบ Paired-Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า
- คณาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือมีความเห็นเกี่ยวกับบริบทด้านนโยบายการส่งเสริม การทําวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.97, SD = 0.83) ด้านสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทําวิจัยอยู่ใน ระดับปานกลาง (
= 2.68, SD = 0.88) ด้านบุคลากรในการทําวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.81, SD. = 0.95) ด้านปริมาณงานวิจัยที่มีในวิทยาเขตอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.52, SD = 0.86)
- จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้และทักษะในการทําวิจัยที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริง ของคณาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือโดยการทดสอบค่าที แบบ Paired-Sample t-test พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าเฉลี่ยของความรู้และ ทักษะในการทําวิจัยในปัจจุบันต่ํากว่าค่าเฉลี่ยของความรู้และทักษะในการทําวิจัยที่คาดหวังทุกรายการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552), ระเบียบวิธีวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ ครองช่าง.
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ์. (1996).
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547), มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ, กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
บุญชม ศรีสะอาด, 2545. การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
ประเวศ วะสี. (2552). ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูประบบอุดมศึกษา อุดมศึกษาคือหัวรถจักรทางปัญญาพาชาติออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ : บ. ที่คิว พี่จก.
พันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ. (2550). การพัฒนาศักยภาพในการผลิตช่างแม่พิมพ์ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิสซิ่ง.
มานิตย์ นาคเมือง. (2552). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจําสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2554). การจัดประชุมและฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊พลัสพับลิชชิง.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2549). การบริหารวิถีพุทธ ตอน:การบริหารคุณภาพแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: อารยชน.
ศรุดา ชัยสุวรรณ.(2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเอกชน, วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2) พฤศจิกายน 2549-มีนาคม 2550:28-29.85-98
ศจีมาจ ขวัญเมือง. (2548) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ : การวิเคราะห์ลิสเรลและเครือข่ายใยประสาท. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565), โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันการพลศึกษา. (2548). คู่มือการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
สมคิด บางโม. (2553). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2551. กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา. [online] เข้าถึงได้จาก http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/index.php
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565), โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังศินันท์ อินทรกําแหง และทัศนา ทองภักดี (2547). ศึกษา การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นําทางวิชาการของอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกํากับของรัฐ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรวิชช์ นาครทรรพ และจุฬาภรณ์ มาเถียรวงศ์. (2005), เมื่อความทุกข์ไล่ล่าเด็ก : ข้อเท็จจริงงานวิจัยภาคสนาม กับคําถามที่ท้าทายในการเสริมสร้างสุขสภาวะไทย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตยา ดวงมณี. (2540). การพัฒนาดัชนีบ่งชี้รวมสําหรับความเป็นเลิศทางวิชาการ ของสาขาการวิจัยทางการศึกษา ในมหาวิทยาลัยของรัฐ, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). “การผลิตเอกสารและผลงานทางวิชาการสําหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย”วารสารครุศาสตร์, 29, 1 (กรกฎาคม-ตุลาคม 2543): 44-50.