พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายและหาความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ จํานวน 221 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น จํานวน 39,472 คน สําหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 45% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง 494 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น แบบสอบถามปลายเปิด และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในการนี้ผู้วิจัยได้หาคุณภาพของ แบบสอบถามดังกล่าว พบว่า มีความเที่ยงเป็นที่ยอมรับได้ตามหลักวิชาการ และจากการวิเคราะห์เพื่อหา ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของครอนบาค พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับ 0.96
สําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เพื่อคํานวณหาค่าอัตราส่วนร้อย เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและหาค่าสถิติพรรณนาของพฤติกรรมการออกกําลังกาย รวมทั้งหาความสัมพันธ์ของ คุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดกระบี่ โดยการ ทําตารางไขว้ และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางและความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
- ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้ปกครองมีอาชีพ เกษตรกรรม มีความคิดว่าคนเราต้องมีการออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ การออกกําลังกายเป็นประจํา ทําให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การออกกําลังกายเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก การออกกําลังกายเป็นเรื่องจําเป็น ไม่เสียเวลาแต่อย่างใด การออกกําลังกายเป็นกิจกรรมสนุกสนาน อยู่ในระดับสูง และมีความคิดว่าไม่มี กิจกรรมใดทดแทนการออกกําลังกายได้อยู่ในระดับปานกลาง
- เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกาย ส่วนระดับชั้นที่ศึกษาของนักเรียนไม่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายด้านเจตคติกับความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย สําหรับ อาชีพของผู้ปกครองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายด้านเจตคติ การรับรู้ประโยชน์และ อุปสรรคของการออกกําลังกาย
- ระดับชั้นที่ศึกษาของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอกกำลังกายด้านการรับรู้ประโยชน์ วิธีการ และอุปสรรคของออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- อาชีพของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายด้านความรู้ และวิธีการการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กัลยา กิจบุญชู. (2546). แนวทางการส่งเสริมการออกกําลังกายในโรงเรียน. นนทบุรี: กองออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2556, จาก http://dopah.anamai.moph.go.th/upload/printer/20-12-10-14-19-11-F.pdf.
ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2544), จิตวิทยาการเรียนการสอน, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2549). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ ฟริ้นท์.
พรรณี ช. เจนจิต. (2554). จิตวิทยาการเรียนการสอน, กรุงเทพฯ: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.
วิศาล คันธารัตนกุล. (2549). คําแนะนําการออกกําลังกายในเด็ก, วารสารจาร์พา (Foodand Health) 13(88)
วุฒิพงษ์ ปรมัตถากร. (2537). การออกกําลังกาย, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุภาภรณ์ วรอรุณ อาคม โพธิ์สุวรรณ อุมากร ใจยั่งยืน และพรพจน์ บุญญสิทธิ์. (2554). ปัจจัยทํานายการออกกําลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลสนามชัย อําเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี, วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2554 สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2556, จาก http://www.pi.ac.th/uploads/2011053020110530_5.pdf
สุมาลี สวยสะอาด. (2555), เพศศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ตั้งสัจจพจน์. (2553), นันทนาการและการใช้เวลาว่าง, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). การสํารวจการออกกําลังกายของประชากร, กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
อาธร อุคคติ, วันชัย ธรรมสัจการ และสุเมธ พรหมอินทร์. (2551: 536), ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ. สงขลานครินทร์เวชสาร. ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. 2551.
Kim, Y. H. (2004). Korean Adolescents' Exercise Behavior and Its Relationship With Psychological Variables Based on Stages of Change Model. Journal of Adolescent Health 2004; 34:523-530.
Yamane, T. (1967). Statistics and Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.