การพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการจัดการแข่งขันกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย

Main Article Content

พลธรรม พลการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการทํางานเป็นทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ งานในการจัดการแข่งขันกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ และ อิทธิพลของปัจจัยในการทํางานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกกท. 3) เพื่อพัฒนารูป แบบการทํางานเป็นทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการจัดการแข่งขันกีฬาของ กกท. โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากกรอบแนวคิดการจัดการองค์กร การพัฒนาองค์กร และการ ทํางานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน กกท. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 การ แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 28 และการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ประกอบด้วย ผู้บริหาร 20 คน พนักงาน 230 คน และผู้ช่วยปฏิบัติงาน 150 คน ของ กกท. ทั้งในส่วนกลางและในส่วน ภูมิภาค รวมจํานวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้สถิติจากสมการถดถอย Block Wise แบบ Stepwise จากจํานวน 79 ตัวแปรในการคํานวณ


ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการทํางานเป็นทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการจัดการ แข่งขันกีฬาของ กกท. ยังเป็นรูปแบบที่ไม่มีการเชื่อมต่อประสานกันระหว่างทีมย่อยๆ ยังขาดศูนย์รวมใน การติดต่อประสานงาน และไม่มีการสรุปผลการปฏิบัติงานรายวันเพื่อการวางแผนในการป้องกัน แก้ไข ใน ปัญหาที่เกิดขึ้น 2) ปัจจัยทั้ง 5 ด้านมีอิทธิพลในทิศทางเดียวกันต่อประสิทธิภาพในการทํางานเป็นทีม โดยที่ปัจจัยด้านกระบวนการหรือการดําเนินงาน มีค่าความสัมพันธ์กับด้านบรรยากาศในการทํางานเป็นทีม สูงสุด หากดําเนินการในรูปแบบการทํางานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะส่งผลต่อการประหยัด บุคลากรที่ใช้ในการดําเนินงานได้มากที่สุด 3) รูปแบบของการทํางานเป็นทีมที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ในการจัดการแข่งขันกีฬาของ กกท. ควรจะต้องอาศัยปัจจัยทางด้านบรรยากาศการทํางานเป็นทีมซึ่งจะ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทํางานเป็นทีมสูงที่สุด


ข้อเสนอแนะจากการวิจัย เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการทํางานเป็นทีมเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ กกท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว 1) ควรจัดตั้งงบประมาณในการดําเนิน การที่ฝ่ายพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศเพียงฝ่ายเดียวเพื่อเป็นการบูรณาการทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากรที่ไปปฏิบัติหน้าที่ และทรัพยากร ที่ใช้ในการดําเนินงาน 2) ควรมีการประชุมเพื่อทําความเข้าใจใน ภาพรวมสําหรับผู้ที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ให้มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ของตัวเองและของ ทีมงาน 3) สถานที่ตั้งและบุคลากร ควรมีรูปแบบการทํางานในลักษณะเป็นศูนย์การประสานงานกลางของ กกท. (SAT House) และควรจัดให้มีพนักงานที่สามารถเป็นตัวแทนจากทุกฝ่าย ที่สามารถให้ข้อมูลหรือ ประสานเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนองตอบได้อย่างรวดเร็ว

Article Details

How to Cite
พลการ พ. (2022). การพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการจัดการแข่งขันกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 7(2), 77–90. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/256459
บท
บทความวิจัย

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2543). ทักษะการบริหารทีมงาน - Team Management Skils. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2548), เทคนิคการพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ทิศเหนือ วงศ์สวัสดิ์. (2545), การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรกับประสิทธิผลของการทํางานเป็นทีมของพนักงานสหกรณ์การเกษตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,

บุญหนา บุญเรือง. (2552). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมด้วยกลยุทธ์การสร้างพลังทีมงานโรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. กาฬสินธุ์ : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.

บุศรินทร์ บุญเมือง. (2541). การวิเคราะห์สภาพปัญหาการทํางานเป็นทีมของบุคลากรในโรงพยาบาลศรีธัญญา, นนทบุรี : โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ประชุม โพธิกุล. (2537), การพัฒนาทีมงาน, กรุงเทพฯ : สายใจ.

ฝนทิพย์ จิตต์จารึก. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทํางานเป็นทีมกับประสิทธิภาพในการทํางานเป็นทีมของตัวแทนจําหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มานะ หรั่งกุล. (2520). ทฤษฎีแนวยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีและแม่แบบการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : ขนิษฐ์การพิมพ์และโฆษณา.

แววดาว อินทบุตร. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การพัฒนาบุคลากร การทํางานเป็นทีม กับผลผลิตของงานของพยาบาลประจําการ โรงพยาบาลชุมชน, กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา วัชรเสถียร. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานในองค์การรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภโชค ซุนจิ๋ว. (2545). การสร้างทีมงาน, กรุงเทพฯ : รัฐสภาสาร. 50(2).

สุนันทา เลาหนันทน์. (2531). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

สุรีพร พึ่งพุทธคุณ. (2549). การบริหารจัดการทีมงาน. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ดร.สุเมธ งามกนก. (2550), การสร้างทีมงาน. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์กร ทิพยกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดการทํางานเป็นทีม กรณีศึกษาฝ่ายการตลาด บริษัทวิริยะประกันภัยจํากัด. กรุงเทพ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อมรรักษ์ จินนาวงศ์. (2543). ผลของการพยาบาลเป็นทีมต่อประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณ รักธรรม. (2524). การพัฒนาองค์การ : การสร้างและพัฒนาการทํางานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อติญา สุพพัตกุล. (2542). ปัจจัยที่เอื้อต่อการทํางานเป็นทีมของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน), กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อัจฉรา อาศิรพจน์มนตรี. (2540), ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทํางานกับการทํางานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุชิต สว่างแจ้ง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการทํางานเป็นทีมของบุคลากรสาธารณสุขสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด, งานวิจัยสํานักงานสาธารณสุขอําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด.

Belbin, R.M. (1990). Management, Teams : Why They Succeed or Fail. Oxford : Heinemann Professional.

Davis, J. Millburn, P. Murphy, T. Woodhouse, M. (1992). Successful Team Building : How to Create Teams that Really Work. London: Kogan Page.

Guzzo, R.A. and Salas, E. (1995). Team Effectivenes and Decision Making in Organizations. San Francisco : Jossey - Bass.

Hackman, J.R. (1990). Groups That Work (and Those That Don’t). San Francisco : Jossey - Bass.

Harrington, Mackin, D. (1994). The Team Building Tool Kit : Tips, Tactics, and Rules for Effective Workplace Teams. New York: AMACOM.

Henry Mintzberg. (2004). Managers not MBAS : A Hard Look at The Soft Practice of Managing and Management Development. California : Berrett - Koehler Publisher.

Katzenbach, J.R. and Smith, D.K. (1993). The Wisdom of Teams : Creating the High Performance Organization. Boston: Harvard Business School.

Manz, D.C. and Sims, H.P. (1993). Business Without Bosses : How Self - Managing Teams Are Building High-Performing Companies. New York: Wiley.

McGourty J. & De Meuse K. (2001). The Team Developer : An assessment and skill building program. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Mohrman, S.A. Cohen, S.G. and Mohrman, A.M. (1995). Designing Team - Based Organizations : New Forms for Knowledge Work. San Francisco : Jossey-Bass.

Odenwald, S.B (1996). Global Solutions for Teams. Chicago : Irwin Professional.

Rendon T. (1999). Work Teams Fit Stations' Need to Handle DTV Transition. Current Thinking, (June),B4, B6, B23.

Robbins and DeCenzo. (2004). Fundamental of Managements. New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Scholtes, P.R. (1988). The Team Handbook : How to Use Teams to Improve Quality. Madison, Wisc: Joiner Associates.

Schrage, M. (1995). No More Teams! Mastering the Dynamics of Creative Collaboration. New York : Currency Doubleday.

Senge, P.M. Kleiner, A. Roberts, C. Ross, R.B. and Smith, B.J. (1994). The Fifth Discipline Feldbook : Strategies and Tools for Building a Learning Organization. New York : Doubleday.

Smith, P. (2003). Designing Teams and Assigning Roles. Lisle, IL : Pacific Crest.

Spiegel, J. and Torres, C. (1994). Manager's Official Guide to Team Working. Amsterdam : Pfeiffer & Company.

Thompson, L. (2000). Making the Team : A Guide for Managers. New Jersey : Prentice Hall.

Tjosvold, D. (1991). Team Organization : An Enduring Competitive Advantage. New York: Wiley.

Vroom, Victor H. (1964). Work and Motivation. New York: John Wily and Sons Inc.

Wellins, R. S., Byham, W. C., & Wilson, J. M. (1991). Empowered Teams : Creating Self - Dericted Work Groups that Improve quality, Productivity, and Participation. San Francisco : Jossey-Bass.

Zander, A. (1994). Making Groups Effective (2nd Ed.). San Francisco : Jossey - Bass.