การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)

Main Article Content

นพพรพรรณ ญาณโกมุท
ไชยรัตน์ ปราณี
สิริพร ปาณาวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษา ชั้นเรียน (Lesson Study) ซึ่งมีวิธีการในการสร้างและพัฒนารูปแบบ โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) ในตรวจสอบร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนํามาสร้างรูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ได้ผลการวิจัย ดังนี้


  1. การร่างรูปแบบจากการศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบ (Whole School Approach) แนวคิดการนิเทศภายใน และแนวคิดการศึกษา ชั้นเรียน (Lesson Study) ทําให้ได้ร่างรูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ หลักการของรูปแบบฯ วัตถุประสงค์ ของรูปแบบฯ กระบวนการนิเทศภายใน และการประเมินรูปแบบฯ

  2. ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบฯ โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) จํานวน 9 ท่าน ผลการพิจารณาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเห็นสอดคล้อง กันว่า ร่างรูปแบบที่ผู้วิจัยยกร่างขึ้น มีองค์ประกอบที่มีความเหมาะสม แต่ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขใน ประเด็น ดังต่อไปนี้ 1) หลักการของรูปแบบควรเขียนให้ชัดเจนและครอบคลุมในหลักการ 2) วัตถุประสงค์ ของรูปแบบควรเขียนให้สอดคล้องกับหลักการและแนวคิดที่ใช้ศึกษา 3) กระบวนการนิเทศขั้นตอนและ กิจกรรมในการดําเนินการซ้ําซ้อน ควรปรับให้กะทัดรัด 4) การประเมินผลควรประเมินให้ครอบคลุมและ เป็นไปตามวัตถุประสงค์

  3. สร้างแบบประเมินรูปแบบฯ นําเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบและประเมิน คุณภาพของรูปแบบฯ ว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริง โดยการ วิเคราะห์ค่า IOC (Item Objective Congruence Index) และมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ผลการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ทุกข้อคําถามของรูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) มีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 ทุกข้อ และผลการประเมินค่ามาตรประมาณค่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก แสดงว่ารูปแบบฯ ที่สร้าง และพัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็น ไปได้ในทางปฏิบัติและมีความสอดคล้องกัน

Article Details

How to Cite
ญาณโกมุท น., ปราณี ไ., & ปาณาวงษ์ ส. (2015). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 7(3), 123–138. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/256687
บท
บทความวิจัย

References

กุลวดีบัวโชติ. (2547). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในพระราชสํานัก ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เกษร ทองแสน. (2553). การพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาบทเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรัชญา พัดศรีเรือง. (2555) ตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน, นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน, การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2551). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของครูในกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน: นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วชิรา เครือคําอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงใหม่, นครปฐม: วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550), รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมศักดิ์ เศวตสุพร. (2549). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2 : วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์,

สามารถ ทิมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลึกแมนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555). รายงานการศึกษาสภาพการนิเทศปัญหา ความต้องการและรูปแบบการนิเทศที่เอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพ: ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2552), ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561), กรุงเทพฯ: สํานักมาตรฐานนโยบายและแผนการศึกษา.

สํานักเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534), เทคนิคและกระบวนการนิเทศ, กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

Ben, M. Harris. (1975). Supervisory Behavior in Education. 2nd ed. Englewood Cliffs, Newyork.

Fernandez. C. and Yoshida.M. (2004). Lesson study: A Japanese approach to improving Mathematic teaching and learning. New Jersey: LawrenceErtbaum Associate.

Glickman, C.D. Stephen P. Gordon, and Jovita M. Ross-Godon. (1995). Supervision and Instruction : A Developmental Approach. 30 ed. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Glickman, C.D. Stephen P. Gordon, and Jovita M. Ross-Godon. (2004). Supervision and Instruction Leadership : A Developmental Approach. Grd ed. Boston: Allyn and Bacon.

Hiebert, J., Gallimore, R., & Stigler, J. (2002). A knowledge base for the teaching profession : What would it look like and how can we get one?. Educational Researcher.(n.p.]

Lewis, C. (2002). Lesson Study: A handbook of teacher-led Instructional change. Philadelphia: Research for better schools.

Yoshida, M., & Fernandez, C. (2002). Lesson Study: An Introduction. New York: Madison.

Yoshida, M., (2005). An overview of Lesson Study. In Wang-Iverson. P. and Yoshida M. (eds). Building our understanding of lesson study. Philadelphia: Research for better schools.

Yoshida, M., (2006). An overview of Lesson Study. In Building our understanding of lesson study. Philadelphia: Research for better schools