การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต ในสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างแบบทดสอบ และเกณฑ์ทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ใช้นักเรียนจํานวน 30 คน เป็นนักเรียนชาย 15 คน และนักเรียนหญิง 15 คน ในการสร้างเกณฑ์ทักษะ ใช้นักเรียนจํานวน 300 คน เป็นนักเรียนชาย 150 คน และนักเรียนหญิง 150 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบ ทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ทักษะการเดาะลูก ทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสด้วย หน้ามือ ทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสด้วยหลังมือ ทักษะการเสิร์ฟลูกหน้ามือ และทักษะการเสิร์ฟลูกหลังมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มัธยฐาน (Median) และฐานนิยม (Mode) และคะแนนที (T-Score)
ผลการวิจัยพบว่า
- แบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่นในระดับสูงทุกรายการ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (1) เท่ากับ 958, 923, 811, 863 และ 802 ตามลําดับ
- แบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเป็นปรนัยทางบวกระดับสูงทุกรายการ (r = 1.000)
- แบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสัมพันธ์ภายใน
- เกณฑ์ของแบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนที (T-Score) รวมทักษะ กีฬาเทเบิลเทนนิส ระดับสูงมากมีค่าทีที่ 65 คะแนนขึ้นไป ระดับสูงมีค่าทีที่ 58-64 คะแนน ระดับปานกลาง มีค่าทีที่ 43-57 คะแนน ระดับตํามีค่าทีที่ 36-42 คะแนน และระดับต่ํามากมีค่าทีที่ 35 คะแนน ลงมา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมอนามัย. (2557), กรมอนามัย หวั่นปิดเทอมเด็กไทยใช้ชีวิตเสี่ยงอ้วน ติดเกม ทีวี กินอาหารขยะไม่ออกกําลังกาย ชวนพ่อแม่ปรับพฤติกรรม. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2557, from: http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=6237&filename=index.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2557, from : http://www.psc.ac.th/docs/laws/education Core2551.pdf
กิตติภูมิ บริสุทธิ์. (2555). ผลของการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวต่อการทดสอบตารางเก้าช่องในนักกีฬาเทเบิลเทนนิส เชียงใหม่: วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จตุพร ลิ้มมณี. (2550). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสสําหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พลศึกษา), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ชัยณรงค์ เขียวแก้ว. (2548). ระดับทักษะเทเบิลเทนนิสของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย ปีการศึกษา 2547. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
โชดก ฤทธิรุดเร่งพล. (2535), การสร้างแบบทดสอบทักษะเทเบิลเทนนิสสําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2545). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสเชิงปริมาณและคุณภาพสําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนนทบุรี, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธวัชศักย์ ตั้งปณิธานวัฒน์ และจารึก สระอิส. (2556). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทนนิส : กรณีศึกษารายวิชา 281-162 ทักษะและวิธีสอนเทนนิส และ 281-214 เทนนิส. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2556.
นําพล จุมพิศ. (2554). การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิสสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2557, from: http://www.thaigoodview.com/node/133768.
ผาณิต บิลมาศ. (2530), เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา พล 514 การทดสอบและการวัดผลขั้นสูงทางพลศึกษา, กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชัย พัฒนาพงศ์ชัย. (2553). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิส สําหรับนิสิตวิชาเอกพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2552. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พูนศักดิ์ ประถมบุตร. (2532), การทดสอบและการประเมินผลทางพลศึกษา กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพศาล คชเพชร. (2556). รายงานการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสด้วยแผนการฝึกทักษะควบคู่การฝึกจินตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2557, from: http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id= 105796&bcat_id=16.
วิริยา บุญชัย. (2529), การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สมมิตร ดิลกนิลการ. (2540), การสร้างแบบทดสอบทักษะการตีลูกหมุนในเทเบิลเทนนิส. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (พลศึกษา), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, อัดสําเนา.
สุรินทร์ เมือง (2556). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานเทเบิลเทนนิส วิชา พ 22102 เทเบิลเทนนิส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแม่กุวิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2557, from: http://www.maekuwit.ac.th/?name=research&file=readresearch&id=3.
แสงโสม ทิพทวี. (2534). การสร้างแบบทดสอบทักษะเฉพาะตําแหน่งสําหรับนักกีฬาบาสเกตบอล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Clarke, Harrison H. (1968). Approach to Measurement to Health and Physical Education. 3rd ed. New Jersey: Englewood Cliffs, Prentice Hall, Inc.
Kirkendall, D.R., J.J Gruber and R.E. Johnson. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Education. Illinois: Human Kineties Publisher.
Ring, S.E; Mood, D. & musker, F.F. (1999). Sports and Recreational Activity. St, Louis : WCB McGraw-Hill. Pp.490-495.
Strand, B.N. & Wilson, R. (1991). Assessing Sport Skills. Illinois : Human Kineties Publishers. p87-88.