ผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดในน้ำที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว ในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลสโมสรกระบี่เอฟซี

Main Article Content

วุฒิศักดิ์ บุญสิทธิ์
ภานุ ศรีวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดในน้ำที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลสโมสรกระบี่เอฟซี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาสโมสรฟุตบอลกระบี่เอฟซี จำนวน 30 คน ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกฟุตบอล และแบ่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน ด้วยวิธีการจับคู่ โดยกลุ่มควบคุมฝึกตามโปรแกรมการฝึกซ้อมปกติของสโมสร กลุ่มทดลองหลังทำการฝึกซ้อมโปรแกรมการฝึกซ้อมปกติแล้วทำการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมแบกน้ำหนักกระโดดในน้ำที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลสโมสรฟุตบอลกระบี่เอฟซี ระหว่างกลุ่มทดลอง และควบคุม ก่อนการฝึกไม่แตกต่างกันและ 2) ความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลสโมสรกระบี่เอฟซี ระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย พบว่าแรงต้านจากการแบกน้ำหนักกระโดดในน้ำก่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความอดทน ความอ่อนตัว และการทำงานประสานระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อเชื่อมโยงพัฒนาไปยังความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกฟุตบอล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boontham Kitpreedaborrisut (2008). Research methods in social science. Bangkok: Chamchuri Products.

Chaninchai Intiraporn. (2001). A Comparison of the effects of plyometric training and plyometric training plyometric training weights with weights and complex training on power development leg muscles (Doctoral dissertation), Chulalongkorn University.

Chaninchai Intiraporn. (2005). The development of acceleration abilities. Science Journal Sport and Health, 6(2), 57 - 64.

Daniel, S., Massimiliano, D. E., Pickering, R. R., Johnston, W. B., Sheehan, L. W. (2018). The effect of water - based plyometric training on vertical stiffness and athletic performance. PLOS ONE Research, 13(12), 1 - 2.

Department of Physical Education (2017). Physical fitness test Football stadium sector – futsal, volleyball and Badminton. Bangkok: Good Evening Things.

Knopf, K. (2012). Make the pool your gym no - impact water workouts for getting fit, building strength and rehabbing from injury. United stage: Ulysses Press.

McBride, Triplett - McBride, Davie & Newton. (2002). The effect of heavy - vs. light - load jump squats on the development of strength, power, and speed. The Journal of Strength & Conditioning Research, 16(1). 75 - 82.

Ratree Rueangthai, Janya Samingwan, Rojana Arpornrat, Suriya Na Nakorn, Siriporn Sasimonthonkul, & Anantasin Ruchirek. (2009). Exercise in water for health. Bangkok: Kasetsart University Press.

Rovilnelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion - referenced test item validity. San Francisco, California: American Education.

Taro Yamane. (1970). Statistic: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Thavorn Kamutsri. (2017). Enhancement of physical fitness. Bangkok: Media Press Printing House.