ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนของนักกีฬาทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

วิริทธิ์พล แก่นจันทร์
สุธนะ ติงศภัทิย์
วริศ วงศ์พิพิธ
นฤชล อรชร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมกีฬาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนที่เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน เพศชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 13 – 15 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์การคัดเข้าและแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า


1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Physical Education. (2021). Youth and public football competitions. Bangkok: Department of physical Education, Ministry of Tourism and Sports.

Keadsuda Intaraosot. (2003). The effects of assertive behavior training on interpersonal relationships of secondary school students of Ban Klong Sam (darun suksa) school in Changwat Nakhorn Nayok (Master’s Thesis), Srinakharinwirot University.

Ladd, G. W. (1999). Peer relationships and social competence during early and middle childhood. Annual review of psychology, 50(1), 333 – 359.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sports Development Plan No. 6 (2017 - 2021). Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Tourism and Sports.

Naruchol Orrachorn, Paradee Srilad, & Suthana Tingsabhat. (2018). Effects of small-sided games training program on soccer ball passing and receiving ability of lower secondary school students. Journal of Education Chulalongkorn University, 13(4), 13 – 26.

Parker, J. G., Rubin, K. H., Erath, S. A., Wojslawowicz, J. C., & Buskirk, A. A. (2006). Peer relationships, child development, and adjustment: A developmental psychopathology perspective. In D. Cicchetti & D. J. Cohen (Eds.), Developmental psychopathology, Theory and method, 2(1), 419 – 493.

Peechanika Pechsung, Aumporn Makanong, & Duchduen Bhanthumnavin. (2020). Development of program for enhancing learning behavior using achievement motivation theory and goal setting theory for undergraduate students. Journal of Education Naresuan University, 23(2), 433 - 435.

Penpicha Lwandee. (2013). Job motivation and job satisfaction among nurses in banphaeo hospital public organization (Master’s thesis), Silpakorn University.

Pongake Sooksai. (2005). A training program for improving the anaerobic threshold of football players (Master’s Thesis), Chulalongkorn University.

Pongpinit Promnet. (2020). Effects of volleyball group dynamic program on teamwork and volleyball skills vocational students (Master’s thesis), Chulalongkorn University.

Sumeth Ponggpetra. (2010). Factors affecting on interpersonal relationship with friends of the fourth level, secondary grades 4 – 6 students at Sarasas Ektra school in Yannawa district, Bangkok (Master’s thesis), Srinakharinwirot University.

Tanrada Kaewkunha. (2019). Effects of a self - disclosure program on peer relation and collaborative working skill ls of third grade student (Master’s thesis), Chulalongkorn University.

Tarricone, P., & Luca, J. (2002). Successful teamwork: A case study. American Journal of Educational Research, 3(6), 641 – 645.

Wasinee Mukdokmai. (1998). A comparison of the effects of group work and assertive training on relations with peers of elementary school grade 6 students of Chumchongbungba school in Amphoe Nongsua Changwat Pathum Thani (Master’s thesis), Srinakharinwirot University.

Wasu Sakulrat. (2014). Effect of non - formal education activity management using the cooperation of people from different ages in the art activities on interpersonal relationship enhancement (Master’s thesis), Chulalongkorn University.

Wittaya Boonladee. (2018). Factors affecting self - development on teachers under prachuapkhirikhan primary educational service area office 2. Veridian E - journal, Silapakorn University, 11(3), 2513 - 2518.

Witthaya Laohakul. (2016). Manual of best practices. Samthuraprakarn: Pathach.

Worasak Pianchob. (2005). Collection of articles on philosophy, principles, teaching methods and measurement for evaluation in physical education. Bangkok: Chulalongkorn University Press.