ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองที่มีต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

ไกรศักดิ์ กาญจนศร
จินตนา สรายุทธพิทักษ์
สริญญา รอดพิพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารก่อน กับหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองและนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารหลังการทดลองระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองกับนักศึกษากลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร ปีที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดห้องเรียนตัวอย่าง 2 ห้อง
เข้าเป็นห้องกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิด
การชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที ในวันพฤหัสบดี รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความรู้ด้านอาหาร 3) แบบทดสอบความตระหนักด้านอาหาร และ 4) แบบสอบถามทักษะด้านอาหาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.73, 0.88, และ 0.89 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81, 0.82, และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Achari Maenpuen. (2018). Effects of eat smart program to promote nutritional diet of grade four students, Nonthaburi Province, Thailand. Journal of Health Education, 41(1), 126 – 137.

Anuchit Chuleekran. (2022). Effects of health education learning management using creative thinking concept and brainstorming technique on learning achievement and creative thinking for primary school students. Academic Journal of Thailand National Sports University, 14(2), 299 – 308.

Kunthalee Boriraksantikul. (2017). Development of teachers’ instructional design abilities for children during the transition between kindergarten and elementary based on whole faculty study group and cognitive coaching approach. Journal of Education Studies Chulalongkorn University, 45(3), 1 – 16.

Nuttaya Thongjun. (2016). Development of creative thinking in science of lower secondary students learning through brain storming. Journal of Graduate Research, 7(1), 1 – 14.

Patcharawadee Jainan. (2019). The development of mathematics problem solving ability of grade 11 students using the SSCS model with brainstorming technique. Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kean University, 13(2), 23 – 33.

Rosas, Pimenta, Leal, & Schwarzer. (2019). FOODLIT - PRO: Food literacy domains, influential factors and determinants - a qualitative study. Nutrients Journal, 12(88), 1 – 31.

Saowanee Suksam. (2017). The effect of using a guidance activities package with brainstorming technique to develop creative problem - solving ability of phathom suksa ii students of Thessaban 4 (Udomwitsomjai) School in Prachin Buri Province. STOU Education Journal, 11(2), 43 – 55.

Sitaporn Suriya. (2017). The pilot study: Suitability of non - communicable diseases policy instruments to lifestyle and food consumption behavior of population in Nonthaburi Province. Governance Journal, 5(2), 104 – 123.

Suwimon Ukraisa. (2019). Food literacy: Concept of integrated learning in home economics for sustainable development. Journal of Education Review, 34(3), 128 – 136.

Suwimon Ukraisa. (2021). E - learning for food literacy learning management. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 98 – 110.

Thichakorn Arthitwarakull. (2019). An application of design - based research for development of cognitive coaching process cooperating with metacognitive strategies to enhance research competencies of teachers in Srinakharinwirot University Demonstration School (Secondary). Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 9(2), 111 – 122.

Wachira Kruekamai, & Chawalit Kodsiri. (2020). The development of coaching and mentoring supervision to enhance learning management in 21st century in the service area of the office of the basic education commission in Chiang Mai province. Journal of the Association of Researchers, 24(1), 121 – 135.

Wijayaratne S., Westberg K., Reid M., & Worsley A. (2021). Developing food literacy in young children in the home environment. International Journal of Consumer Studies, 46(4), 1165 – 1177.