การศึกษากีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออก

Main Article Content

ไพโรจน์ สว่างไพร
วาสนา มุ่งวิชา
เอนก สูตรมงคล
จิรเมศร์ ธนกุลอธิโรจน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลกีฬาพื้นบ้านของภาคตะวันออกไว้เป็นแหล่งอ้างอิงเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจและข้อมูลภาคสนาม (Field Study) รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บันทึก และสัมภาษณ์ผู้รู้และปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา (Descriptive Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจาก 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มผู้รู้ปราชญ์ชาวบ้าน 350 คน 2.กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ 70 คนและกลุ่มทั่วไปอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้าน 70 คน รวมทั้งสิ้น 490 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี


ผลการวิจัยพบว่า


1) กีฬาพื้นบ้านของภาคตะวันออก ที่ยังมีการเล่นกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ มีรวมทั้งสิ้น 78 ชนิดกีฬา
โดยมีการเล่นเหมือนกันทุกจังหวัดถึง 61 ชนิดกีฬา


2) กีฬาพื้นบ้านของภาคตะวันออก มีจุดกำเนิดจากแนวความคิดของบรรพชนที่คิดขึ้น โดยมีพื้นฐานแนวคิดของการเลียนแบบวิถีการดำเนินชีวิต ของการเลียนแบบสัตว์หรือเลียนแบบธรรมชาติ การเลียนแบบเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในท้องถิ่น การเลียนแบบอาชีพประจำวัน


3) การเล่นกีฬาพื้นบ้านของภาคตะวันออก จะนิยมเล่นกันมากในเทศกาลเช่นวันสงกรานต์ หรือ
วันขึ้นปีใหม่


4) กีฬาพื้นบ้านมีเล่นกันในทุกกลุ่มอายุ บางชนิดกีฬาความนิยมแตกต่างกันไปตามเพศและวัย


5) สถานที่ที่ใช้ในการเล่นกีฬาพื้นบ้านนั้น นิยมใช้สถานที่โล่งแจ้งที่เป็นสนามของลานวัดหรือทุ่งนาหรือในโรงเรียน บางชนิดกีฬาต้องอาศัยแม่น้ำลำคลองหรือชายทะเล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

raya Thavornsawat. (2012). Guidelines for promoting and supporting Thai traditional sports in basic development Thai Athletes. (Research Report). Research and Development Group, Sports Bureau, Department of Physical Education, Ministry of Tourism and sports.

Boonchom Srisa - Ard. (1989). Statistical methods for research. Department of Basic Education. Faculty of Education Srinakharinwirot University.

Chuchchai Gomaratut. (2006). Northeast folk sports. Bangkok: Sathaporn Books.

Chuchchai Gomaratut. (2011). Thai traditional sports in the central region. Bangkok: Sathaporn Books.

Department of Cultural Promotion Ministry of Culture. (2016). Culture way of life and wisdom. Ministry of Culture.

Malee Kabmala. (2018). Analytico - synthetic method for building Isan children folk plays ontology. Journal of Information Science, 36(2), 75 – 116.

Narunat Krainara. (2012) Sports communication in Thai temples mural paintings. Journal of Communication Arts Review, 18(1), 97 - 110.

Olran ThinBangTieo. (2018). The economic role of Chinese people during the early Rattanakosin period in coastal areas Eastern. Journal of Humanities and Social Sciences, 24(46), September- December. 59 – 79.

Suphachokchai Nanthasri. Creating database, innovation and making use of folk games for the elderly in Kamphaeng Phet Province. Journal of Pacific Institute of Management Science Humanities and Social Science, 7(3), 139 – 150.

Thammanoon Thavornsivawong,(2013). The wisdom of Thai children’s folk games for interior design of the youth preforming arts institute of Bangkok (Master’s thesis), Silpakorn University.

Vangie Boto - Montillano. (2014).Revisiting traditional games in the heart of Filipino in the province of Cavite “A community based program intervention”. International Journal of Health, Physical Education, & Computer Science in Sport, 15(1), 567 – 569.