นโยบายการจัดการกีฬาของสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย

Main Article Content

นงเยาว์ โกสีนาม
ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลสำเร็จต่อการจัดการกีฬาเพาะกายและฟิตเนส 2. ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคปัจจัยที่มีผลสำเร็จต่อการจัดการกีฬาเพาะกายและฟิตเนส และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบายการจัดการกีฬาของสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกีฬา บุคลากรที่ดำรงตำแหน่งในระดับผู้บริหารสมาคมฯ 5 คน บุคลากร เจ้าหน้าที่สมาคมฯ 10 คน สมาชิกระดับสามัญ 11 คน และสมาชิกระดับวิสามัญ 4 คน เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการลดทอนข้อมูล การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้โดยการอธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการกีฬาเพาะกายและฟิตเนส คือ มีการกำหนดนโยบายการจัดการกีฬา เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติ และเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ สอดคล้องกับนโยบายของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีการใช้สื่อทุกช่องทางในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกีฬาเพาะกายและกิจกรรมของสมาคม มีการสนับสนุนสถานที่ฝึกซ้อม อุปกรณ์กีฬา และอาหารบำรุงร่างกาย (2) สภาพปัญหาอุปสรรคปัจจัยที่มีผลสำเร็จต่อการจัดการกีฬาเพาะกายและฟิตเนส งบประมาณมีจำกัดไม่เพียงพอและความล่าช้าในการเบิกจ่าย นักกีฬา ค่ายสมาชิก หรือบุคคลทั่วไปบางกลุ่ม ไม่เข้าใจหลักเกณฑ์คัดเลือกนักกีฬาทีมชาติ (3) แนวทางการพัฒนานโยบายการจัดการกีฬาของสมาคมฯ ปรับโครงสร้างสมาคมคัดเลือกคณะกรรมการที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ เข้ามากำหนดนโยบาย วางแผน บริหารงาน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงแผน โดยกำหนดเป้าหมายสร้างนักกีฬาที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมการแข่งขันในรายการระดับโลก และดำเนินการจัดหางบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมในการฝึกซ้อมและส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bodybuilding and Fitness Sports Association of Thailand. (2021). History of bodybuilding and fitness sports association nest of Thailand. Retrieved from https://tbpa.or.th/members-2/

Davis. (2011). The strategic development of the U - Tect, Jamaica sport program in producing some of the world’s best student athletes. Proceedings of FISU Conference Shenzhen. Shenzhen: China.

Kesarin Wimolthada. (2021). Sports and tourism promotion management for urban development of Buriram Province. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology, 6(2), 410 - 425.

Ministry of Tourism and Sports. (2004). Tourism and sport practice manual for Government officials and state enterprise employees under the Ministry of Tourism and Sports. Bangkok: Veterans Affairs Printing House.

Phumwarin Chunhawongwarit. (2022). Sports management towards excellence in organizing international bodybuilding and fitness competitions under the COVID-19 era. Santaphon College Academic Journal, 8(2), 137 - 146.

Saroj Saengthonguraipaisarn (2015). The experience of bodybuilding among young men (Master’s thesis), Mahidol University.

Sukree Supavareekul. (2023). Year of sustainability. Retrieved from https://www.thairath.co.th/sport/others/2599385