ผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดต้นคอ โรงพยาบาลกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • นูรูลฮูดา เจ๊ะเต๊ะ โรงพยาบาลกะพ้อ
  • อัมรัม ปาเนาะ โรงพยาบาลกะพ้อ

บทคัดย่อ

บทนำ: ฐานข้อมูลโรงพยาบาลกะพ้อมีจำนวนผู้มารับการรักษาออฟฟิศซินโดรมแยกตามรายปีพุทธศักราชคือปี พ.ศ.2562 จำนวน 131 คน ปี พ.ศ.2563 จำนวน 162 คน และปี พ.ศ.2564 จำนวน 201 คน

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองศาการเคลื่อนไหวคอและระดับอาการปวดต้นคอก่อนและหลังการรักษาของกลุ่มที่ได้รับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมมารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกะพ้อ โดยเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป,แบบประเมินวัดองศาการเคลื่อนไหวคอ,และวัดระดับอาการปวดต้นคอ ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มและเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Wilcoxon signed rang test โปรแกรม สำเร็จรูปSTATA version 12   

ผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร(กลุ่มทดลอง) ได้รับการวัดองศาการเคลื่อนไหวคอก่อน – หลัง, ยืด เหยียดกล้ามเนื้อคอ บ่า 10 นาที, นวดรักษาแบบราชสำนัก 45 นาที, ประคบสมุนไพรบ่า ต้น คอ 15 นาที ติดตาม ผลการรักษาทั้งหมด 3 ครั้ง นัดวันเว้นวัน พบว่า เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.3, อายุเฉลี่ย 31 – 40 ปี ร้อยละ 49.8,  อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.3, สาเหตุเนื่องจากอิริยาบถในการทำงานเป็นเวลานาน ร้อยละ 40.6, ไม่มี โรคประจำตัว ร้อยละ 70, บรรเทาอาการปวดด้วยการรับประทานยา ร้อยละ 63.3 

สรุปผล: ระดับองศาการเคลื่อนไหวคอหลังการรักษาเพิ่มขึ้น ระดับอาการปวดตึงต้นคอลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

References

โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล, คณิสร เจริญกิจ, วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์. ผลของโปรแกรมการนวดแผนไทยต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]; 29(2):129-141. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/download/214906/149589/682989

ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม.[อินเตอร์เน็ต]. คณะพาณิชยาศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702036269_3357_2066.pdf

สุภารัตน์ สุขโท, ปริยาภัทร สิงห์ทอง, ภควัต ไชยชิต, วาสนา หลงชิน. ผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการของโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563]; 6(1):1-20. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-haijo.org/index.php/ttm/article/view/240446/165022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11