การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการกดเต้านมด้วยตนเอง และเทคนิคมาตรฐานในการตรวจแมมโมแกรม โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ประพีพรรณ ถิรสุนทร แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  • แสงรวี ศรีงาม แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  • สุพรรณิการ์ พูนธนานิวัฒน์กุล แผนกศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  • อัญชลี ประเสริฐศรี แผนกศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

คำสำคัญ:

การกดเต้านมด้วยตนเอง, เทคนิคมาตรฐาน, การตรวจแมมโมแกรม

บทคัดย่อ

บทนำ: ความวิตกกังวลและความเจ็บปวดเป็นสาเหตุสำคัญที่พนักงานหญิงโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตไม่เข้ารับการตรวจแมมโมแกรม ซึ่งการเข้ารับตรวจ การให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จะช่วยลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวดของการตรวจแมมโมแกรมด้วยเทคนิคควบคุมแรงกดเต้านมด้วยตนเอง  เพื่อสนับสนุนและสร้างเสริมให้พนักงานได้รับการตรวจมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาบริการเพื่อความพึงพอใจต่อผู้รับบริการต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความปวด ความกังวลใจ ความพึงพอใจ และเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจของผู้ป่วยขณะตรวจแมมโมแกรมแบบการใช้เทคนิคให้ผู้ป่วยควบคุมแรงกดเต้านมเองกับการใช้เทคนิคมาตรฐาน

วิธีดำเนินการ: สำรวจพนักงานหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้จำนวน 440 ราย และประเมินตามเกณฑ์สุ่มตัวอย่างแบบง่าย  โดยวิธีการจับฉลากและผู้วิจัยเชิญชวนเข้าร่วมวิจัย  โดยให้ข้อมูลกระบวนการวิจัยผ่านคณะกรรรมการจริยธรรม

ผลการศึกษา: 1. ระดับความปวดของกลุ่มควบคุมแรงกดเต้านมด้วยตนเองกับกลุ่มการใช้เทคนิคมาตรฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2. ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มควบคุมแรงกดเต้านมด้วยตนเองกับกลุ่มการใช้เทคนิคมาตรฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3. ระดับความพึงพอใจของกลุ่มควบคุมแรงกดเต้านมด้วยตนเองกับกลุ่มการใช้เทคนิคมาตรฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  4. ระยะเวลาในการตรวจของกลุ่มควบคุมแรงกดเต้านมด้วยตนเองกับกลุ่มการใช้เทคนิคมาตรฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป: ผลเปรียบเทียบความปวด ความกังวลใจ ความพึงพอใจของผู้ป่วยขณะตรวจแมมโมแกรมแบบการใช้เทคนิคให้ผู้ป่วยควบคุมแรงกดเต้านมเองกับการใช้เทคนิคมาตรฐานไม่แตกต่าง  และผลเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ  กลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในออกแบบบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้รับบริการต่อไป

References

สถาบันมะเร็งแห่งชำติ. กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ปี 2561[อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก :www.nci.go.th/th/File_download /Nci%20Cancer%20Registry/Hospital%20Based_2018.pdf)

American cancer society. American cancer society recommendations for the early detection of breast cancer [internet].2019 [cited 2020 Apr 13]. Available from: www.cancer.org

Clark S. Women’experiences of mammography: A the Matic Evaluation of the Literature. Radiography [internet].2015[cited 2020 Apr 13]. Available from: www.elsevier.com/locate/radi

Askhar LK. Female patients ’ percep tion of pain caused by mammography in the western region of Saudi Arabia. Saudi Med J[internet]. 2017[cited 2020 Apr 13]. Available from: www.smj.org.sa

Dumky H, Leifland K, Fridell K.The art of mammography with respect to position and compression-a Swedish perspective.Journal of radiology nursing.[internet].2018[cited 2020 Apr 13].Available from:www.ncbi.nlm.gov

Barnes G. Mammography equipment: compression, scatter control, and automatic exposure control. A Haus, M Yaffe, eds. Syllabus: a categorical course in physics. Oak Brook, IL: RSNA Publications; 1993.

Ulus S, Kovan Ö, Arslan A, Elpen P,A ribal E.A new technical mode in mammography:self-compression improves satisfaction. Eur J Breast Health [internet].2019[cited 2020 Apr 13]. Available from:www.ncbi.nlm.nih.gov

Joanna Briggs Institute. Levels of evidence and Grades of Recommendations. The Joanna Briggs Institute [Internet]. 2014. Available from https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

Whitney J. Mammography focuses on patient comfort to improve test rates. [internet].2018[cited 2020 Apr 13]. Available from:www.diagnosticimaging.com

Shrestha S, Poulos A. The effect of verbal information on the experience of discomfort in mammography. Radiography. 2001;7:271–277. doi: 10.1053/radi.2001.0344. [CrossRef] [Google Scholar]

Yılmaz M, Kıymaz Ö. Anxiety and pain associated with process mammography: influence of process information before. J Breast Health. 2010;6:62–68.

Lambertz CK, Johnson CJ, Montgomery PG, Maxwell JR. Premedication to reduce discomfort during screening mammography. Radiology. 2008;248:765–772. doi: 10.1148/radiol.2482071490.

Kornguth PJ, Rimer BK, Conaway MR, Sullivan DC, Catoe KE, Stout AL, Brackett JS. Impact of patient-controlled compression on the mammography experience. Radiology. 1993; 186:99–102. doi: 13.1148/radiology.186.1.8416595.

Balleyguier C, Cousin M, Dunant A, Attard M, Delaloge S, Arfi-Rouche J. Patient-assisted compression helps for image quality reduction dose and improves patient experience in mammography. Eur J Cancer. 2018;103:137–142. doi: 15.1016/j.ejca.2018.08.009.

Tabar L, Lebovic GS, Hermann GD, Kaufman CS, Alexander C, Sayre J. Clinical assessment of a radiolucent cushion for mammography. Acta Radiol. 2004;45:154–158. doi: 10.1080/02841850410003978.

Markle L, Roux S, Sayre JW. Reduction of discomfort during mammography utilizing a radiolucent cushioning pad. Breast J. 2004;10:345–349. doi: 10.1111/j.1075-122X.2004.21352.x.

Hogg P, Taylor M, Szczepura K, Mercer C, Denton E.Pressure and breast thickness in mammography-an exploratory calibration study.Br J Radiol [intenet].2013 [cited 2020 Apr 13]. Available from:www.ncbi.nlm.gov

Chida K, Komatsu Y, Sai M, Kakagami A, Yamada T, Yamashita T, et al. Reduced compression mammography to reduce breast pain. Clin Imaging 2009;33:7–10.) 18. Ulus S, Kovan Ö, Arslan A, Elpen P,A ribal E.A new technical mode in mammography:self-compression improves satisfaction.Eur J Breast Health [internet].2019[cited 2020 Apr 13]. Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov

Henrot P, Boisseri-Lacroix M, Boute V, Troufléau P, Boyer B, et al.Self-compression technique vs standard compression in mammography a randomized clinical trial.JAMA Intern Med[internet]. 2019[cited 2020 Apr 13]. Available from:www.ncbi.nlm.gov

Joanna Briggs Institute. Levels of evidence and Grades of Recommendations. The Joanna Briggs Institute [Internet]. 2014.

Denise F.Polit, Cheryl Tatano Beck . Nursing Research Generating and Assessing Evidence For Nursing Research Copyright © 2017 Wolters Kluwer.

ตฏิลา จำปาวัลย์. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา. 2018;3(1):13-20.

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ .จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ความวิตกกังวลสปิลเบอร์เกอร์[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ ;Copyright © 2011 [เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก :www.cumentalhealth.com

Sonographe Pristina TM3D MammographyCopyright © 2017 [เข้าถึงเมื่อ18 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จากwww.gehealthcare.com/pristina

ทิพย์มงคล ว, ภูริวัฒนกุล น. Cost Analysis of Nursing Service Activities and Time Services for ACL Reconstruction* Patients in the Male Orthopedic Surgical Ward of Songklanagarind Hospital. J Health & Health Manag [Internet]. 2015 Aug. 1 [cited 2023 Nov. 20];2(2):32-41. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/221665

Breast Cancer Surveillance Consortium (BCSC). Sensitivity, specificity, and false negative rate for 1,682,504 screening mammography examinations from 2007-2013. Available from: https://www.bcsc-research.org/statistics/screening-performance-benchmarks

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-11