บทความย้อนหลัง

  • มกราคม-มิถุนายน 2565
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2022)

  • มกราคม-มิุนายน
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2023)

  • กรกฎาคม-ธันวาคม
    ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (2019)

         จักษุเวชสารฉบับนี้มีบทความที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งเป็นความรู้ที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้การการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การโผล่หรือหลุดของ orbital implant หลังการผ่าตัด enucleation หรือ evisceration ลักษณะการเกิดภาวะจุดรับภาพเสื่อมในผู้ป่วยที่ได้รับยาคลอโรควินหรือยาไฮดรอกซีคลอโรควิน ภาวะลูกตาแตกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นที่ไม่ดี การขยายม่านตา adrenaline ผสมใน balance salt solution ซึ่งพบว่าได้ผลดี นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่องอุบัติการณ์และลักษณะของโรคทางประสาทจักษุ และบทความฟื้นฟูวิชาการเรื่องการรักษาภาวะสายตายาวตามวัย


         และเพื่อให้วารสารของเราตามรูปแบบของวารสารวิชาการสมัยใหม่ เราจะพัฒนากระบวนการของวารสารไว้ในระบบออนไลน์ การส่งเรื่อง และการดำเนินการทางด้านบรรณาธิการ เช่นการทบทวนและตรวจแก้บทความจะดำเนินการอยู่บน online open journal system ขอให้ท่านสมาชิกโปรดติดตาม และสนับสนุนวารสารวิชาการของพวกเราต่อไป

  • มกราคม-มิุนายน 2567
    ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (2024)

  • กรกฎาคม-ธันวาคม 2563
    ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 (2020)

    ในที่สุดเราก็ฝ่าฟันมาถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จนได้ ในปีนี้เราผ่านสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ซึ่งนับเป็นการระบาดของโรคครั้งใหญ่ในรอบร้อยปี ผู้เขียนคิดว่าประเทศไทยผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้มาได้ดีทีเดียว ยืนยันความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย เป็นตัวอย่างที่ดีว่าเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต เราควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยวิเคราะห์สถานการณ์ให้ถ่องแท้ ตัดสินใจบนฐานการใช้ข้อมูลและหลักการทางวิทยาศาสตร์ มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นทำให้ท้องถิ่นต่าง ๆ รับมือกับสถานการณ์ได้เหมาะสมกับสภาพ มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคนส่วนใหญ่มุ่งกระทำเพื่อผลลัพธ์โดยรวมของประเทศ ตัดการได้ประโยชน์ส่วนตนหรือของพวกพ้องลง สถานการณ์การระบาดของโรคนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังกระทบต่อการฝึกอบรมแพทย์อย่างรุนแรง ในจักษุเวชสารฉบับนี้ เราได้รับบทความจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นับเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญนี้เอาไว้ นอกจากนี้ จักษุเวชสารฉบับนี้ยังเข้มข้นด้วยเนื้อหาทางวิชาการ แพทย์หญิงจอมขวัญและคณะฯ ทำการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าไบโอเมตริกของลูกตาและค่าสายตาหลังการทำผ่าตัดต้อหิน มีบทความฟื้นฟูวิชาการเรื่องสายตาเอียงของกระจกตาส่วนหลัง นอกจากนี้มีรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ ได้แก่ พยาธิหอยโข่งในช่องหน้าลูกตา และกระจกตาอักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่เลนส์สัมผัสสองอันในตาข้างเดียว และสุดท้ายจักษุเวชสารได้รับเกียรติจากผู้เขียนคือ อาจารย์ประพฤติ ฉัตรประภาชัย กรุณาเขียนบทความเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงดวงตา ซึ่งเป็นการเสริมความรู้ด้านอื่นๆ ให้กับสมาชิก สุดท้ายท่านสมาชิกจะได้เห็นรายชื่อเพื่อนร่วมวิชาชีพที่สละแรงและเวลาช่วยอ่านทบทวนบทความ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้บทความที่ลงตีพิมพ์ในจักษุเวชสารมีมุมมองที่รอบด้าน และเป็นประโยชน์แก่สมาชิกมากที่สุด กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกของราชวิทยาลัยจะมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำประโยชน์ช่วยเหลือสังคมได้ในรูปแบบของเรา มั่นใจว่าเราจะผ่านสถานการณ์การระบาดของโรคร้ายนี้ไปด้วยกัน

  • กรกฎาคม-ธันวาคม 2564
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (2021)

  • กรกฎาคม-ธันวาคม
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2022)

  • มกราคม-มิถุนายน
    ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (2019)

    จักษุเวชสารฉบับนี้มีบทความที่หลากหลาย เริ่มต้นด้วยรายงานผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราใต้เยื่อบุตา ซึ่งนับเป็นภาวะที่พบได้น้อย ผู้ป่วยรายนี้สงสัยเนื่องจากได้รับการรักษาการอักเสบมานาน และพบเม็ดสีดำใต้เยื่อบุตา บทความต่อมาเป็นเรื่องการใช้ยา levofloxacin ฉีดในช่องหน้าตา ปัจจุบันการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเป็นการผ่าตัดที่จักษุแพทย์ทำกันเป็นประจำ และมีผลการรักษาที่ดี นอกจากการใช้เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสเดียวที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีการใส่เลนส์แก้วตาเทียมเพื่อหวังให้ผู้ป่วยมองเห็นในระยะต่าง ๆ มากขึ้น ในฉบับนี้ นพ.พรชัย สิมะโรจน์ รายงานผลการมองเห็น และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิด inferior segmental low power near addition นับเป็นข้อมูลทีเป็นประโยชน์กับจักษุแพทย์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีบทความทบทวนการดูแลรักษาต้อกระจกในเด็ก และผลการผ่าตัด therapeutic penetrating keratoplasty (TPK) ขอเชิญชวนให้สมาชิกอ่านและหาความรู้ในบทความต่าง ๆ ในจักษุเวชสาร และเชิญชวนให้สมาชิกที่มีบทความวิชาการ ส่งมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้กันในในจักษุเวชสารให้มากขึ้น

  • กรกฎาคม-ธันวาคม
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (2023)

  • มกราคม-มิถุนายน 2563
    ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 (2020)

  • มกราคม-มิถุนายน 2564
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (2021)