การพัฒนาทางเท้าเพื่อกรุงเทพมหานครเมืองน่าอยู่

Main Article Content

ณิชนันทน์ บุญอ่อน

Abstract

วัตถุประสงค์: สำรวจสภาพ ปัญหาอุปสรรคของทางเท้าในปัจจุบัน และศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางเท้า สำรวจความสะดวกในการเดินโดยใช้แบบสำรวจ เพื่อทราบถึง ปัญหาและอุปสรรคของการเดินทางเท้า จัดทำแบบสอบถามด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้ทาง และนำผลจากการสำรวจความสะดวกในการเดิน และข้อมูลพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้า มาวิเคราะห์หาเพื่อหาข้อเสนอแนะแนวการปรับปรุงและพัฒนาทางเท้าให้ยั่งยืน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ทางเท้าในพื้นที่ศึกษา จำนวน 17 คนต่อ 1 ช่วงสถานี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 204 ชุด


ผลการวิจัย: ผลสำรวจความสะดวกในการเดิน เริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติสิ้นสุดสถานีบางหว้า จำนวน 12 ช่วงสถานี มีค่าเฉลี่ยความสะดวกในการเดินอยู่ที่ 39.80 อยู่ระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คืออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตา ร้อยละ 49 รองลงมาคือ ความร่มรื่น ร่มเงาของทางเท้าและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้า ร้อยละ 58 อันดับที่ 3 ความปลอดภัยจากอาชญากรรมร้อยละ 59 ผลจากแบบสอบถามด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้า จำนวน 200 คน ทางเท้ามีความสะดวกน้อยร้อยละ 55.39 ทางเท้ามีความปลอดภัยน้อย ร้อยละ 58.33 ต้องการทางข้ามที่มีระบบสัญญาณไฟ ร้อยละ 54.90 สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงทางเท้ามากที่สุด คือ ความปลอดภัย ไฟฟ้าส่องสว่างกล้องวงจรปิด ร้อยละ 22.06 อันดับที่ 2 ความกว้างและพื้นผิวของทางเท้า ร้อยละ 21.08 และอันดับที่ 3 สิ่งกีดขวางต่างๆ บนทางเท้า ความสะอาด ร้อยละ 18.63 ถ้ามีการปรับปรุงทางเท้า ร้อยละ 61.70 จะใช้ทางเท้ามากขึ้น แต่ถ้าไม่มีการปรับปรุง ร้อยละ 69.12 มีแผนเปลี่ยนแปลงการเดินเท้ามาเป็นการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล


สรุป: ผลจากการสำรวจเห็นควรปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของการใช้ทางเท้าของคนทุกกลุ่ม คือ การติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดเสี่ยง การจัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตา ความปลอดภัยและความสะดวกของทางข้าม ทางเชื่อม ให้มีความต่อเนื่องในการสัญจรทางเท้า รวมถึงสิ่งกีดขวางบนทางเท้า และพฤติกรรมการขับขี่บนทางเท้า

Article Details

How to Cite
บุญอ่อน ณ. (2019). การพัฒนาทางเท้าเพื่อกรุงเทพมหานครเมืองน่าอยู่. Vajira Medical Journal : Journal of Urban Medicine, 63(Supplement), S205-S206. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/204712
Section
Conference Abstract