การบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยเพื่อกรุงเทพมหานคร เมืองน่าอยู่

Main Article Content

ธัญภา อินต๊ะนา

Abstract

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการ หาบเร่แผงลอยริมบาทวิถี การดำเนินการของตลาด และสวนอาหารในเขตบางแค 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยของกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา การบริหารจัดการ หาบเร่ – แผงลอยของกรุงเทพมหานคร ในอนาคต


วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวทางการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก เจ้าหน้าที่เขตบางแค จำนวน 6 คน หาบเร่แผงลอยบริเวณจุดผ่อนผันหน้าตลาดบางแคฝั่งขาออก จำนวน 83 คนผู้ค้าในตลาดศูนย์การค้าบางแค ตลาดใหม่บางแค และตลาดแสงฟ้าห้าแพะ จำนวน 65 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณเพื่อหาขนาดตัวอย่างตามหลักสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และประชาชน (ผู้ชื้อและผู้ใช้ทางเท้า) จำนวน 35 คน โดยใช้การระบุผู้ให้ข้อมูลการสุ่มแบบบังเอิญ หรือรายสะดวกและความเต็มใจในการให้ข้อมูลการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอในรูปความเรียง เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และใช้ค่าร้อยละ


ผลการวิจัย: ผลการการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครบริหารจัดการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และตามประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการค้าขายในพื้นที่ผ่อนผัน การดำเนินการตามนโยบายพบปัญหาที่สำคัญคือ ความไม่ชัดเจนนโยบายและอิทธิพลจากนักการเมืองท้องถิ่น


สรุป: นโยบายการบริหารจัดการหาบเร่ผงลอยต้องชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในบริหารจัดการ

Article Details

How to Cite
อินต๊ะนา ธ. (2019). การบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยเพื่อกรุงเทพมหานคร เมืองน่าอยู่. Vajira Medical Journal : Journal of Urban Medicine, 63(Supplement), S207-S208. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/204718
Section
Conference Abstract