พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนอาชีวศึกษาในอำเภอแห่งหนึ่ง ของจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง

ผู้แต่ง

  • ซอลาฮ เด็งมาซา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางเพศ, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, นักเรียน, นักเรียนอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนอาชีวศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 315 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดยผู้วิจัยและได้รับการตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนประมาณ 1 ใน 2 มีคู่รักระหว่างเรียน (50.48%) เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ (52.70%) มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่อมีอายุเฉลี่ย 15.77 (SD = 1.22) ปี ส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกับคนรักหรือแฟน (90.97%) ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานักเรียนมีเพศสัมพันธ์กับคนรักหรือแฟน (49.84%) ส่วนใหญ่มีรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์กับต่างเพศ (88.56%) มีเพศสัมพันธ์เนื่องจากความรัก/เต็มใจ/ไม่อยากเสียแฟนประมาณ 1 ใน 3 (35.87%) นอกจากนี้ ยังพบว่านักเรียนประมาณ 1 ใน 2 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่บ้านตนเอง/แฟน (48.80%) จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและมีมาตรการป้องกันการมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และควรหาแนวทางในการป้องกันปัญหาที่ส่งผลกระทบจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมในอนาคต ต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการทบทวนสถานการณ์เรื่องพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการให้การปรึกษา นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2547.

วัชราภรณ์ บัตรเจริญ, ปาหนัน พิชยพิญโญ และอาภาพร เผ่าวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42 (1): 29-39.

สัจจา ทาโต. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควรของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2550; 1 (2): 19-30.

World Health Organization. Preventing early pregnancy and poor reproductive outcomes among adolescents in developing countries: what the evidence says. (2011) [Internet] Cited 20 May 2018. Available from http://www.who.int/maternal_child_adolescent/documents/preventing_early_pregnancy/en/

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทยปี พ.ศ. 2558. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พ.ศ.2560.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2555 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560 จาก http://www.boe. moph.go.th /Annual/AESR2012/main/AESR55_Part1/file6/3155_STI.pdf

วีระชัย สิทธิปิยะสกุล, พิชานัน หนูวงษ์, รัชนี ลักษิตานนท์ และเบ็ญจา ยมสาร. สำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรทเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556; 22 (6): 979-987.

จรรยา เศรษฐพงษ์, เกียรติกำจร กุศล, สายฝน เอกวรางกูร และปิยธิดา จุลละปีย. พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช. การพยาบาลและการศึกษา. 2553; 3 (3): 51-63.

ณัฐธิดา ปัญจะโรทัย, สุปรียา ตันสกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อีมานี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาหญิงในจังหวัดนครนายก. วารสารสุขศึกษา 2556; 36 (125): 72-85.

วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์, อาภาพร เผ่าวัฒนา และปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา. ปัจจัยที่ใช้ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27 (1): 31-45.

นิยม จันทร์นวล, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์, พลากร สืบสำราญ และสุบรรณ สิงห์โต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 9 (2): 56-65.

Wayne W., D. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed.). John Wiley & Sons, Inc., 1995.

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for android. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University. 2014.

อวาทิพย์ แว. ปัจจัยด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ. เอกสารประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 18; 2560: 215-227.

อนงค์ ประสาธน์วนกิจ, ประณีต ส่งวัฒนา และบุญวดี เพชรรัตน์. ความเชื่อเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และรูปแบบพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร.2552; 27 (5): 369-380.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือพ่อแม่/ผู้ปกครอง การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์, สุรีย์พร กฤษเจริญ และญาวนี จรูญศักดิ์. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนอาชีวศึกษา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550; 25 (6): 511-520.

บรรจง พลไชย. พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ในเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลปกเกล้า 2554; 28 (4) 230-237.

ชลดา ไชยกุลวัฒนา, ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร และแววดาว คำเขียวิทยาลัย. ปัจจัยทำนาย พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลและการศึกษา 2556; 6: 104-115.

กนกกาญจน์ จารุเนตรรัศมี. พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.

สุวัทนา อารีพรรค. เรียนรู้เรื่องเพศกับคุณหมอภาค 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบุญ - ศิริการพิมพ์ จำกัด; 2550.

วงเดือน สุวรรณคีรี, นันทนา น้ำฝน, และวรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร2551; 16 (2): 147-155.

Bandura A. Self - efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman. New York; 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29