ผลของการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมในนิสิตปริญญาตรี
คำสำคัญ:
สอดแทรกจริยธรรม, จริยธรรมสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมในนิสิตปริญญาตรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 46 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ดำเนินการวิจัยโดยจัดการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรม เป็นเวลา 15 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง ทดสอบก่อนและหลังการเรียนด้วยเครื่องมือเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรม ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่า KR-20 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.78 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82.6 การประเมินผลของการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 29.34 (SD = 11.05) และ 52.45 (SD = 2.24) ตามลำดับ ซึ่งหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) 2) กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 76.93 (SD = 4.48) และ 111.26 (SD = 4.49) ตามลำดับ และค่าคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001) ค่าคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมสิ่งแวดล้อม 8 ด้าน พบว่าก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับระดับจริยธรรมขั้นที่ 2 (เพื่อญาติมิตรพวกพ้อง) (xˉ = 2.14, SD = 0.63) หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับระดับจริยธรรมขั้นที่ 3 (เพื่อสังคม) (xˉ =3.09, SD = 0.53) และ 3)กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.23, SD = 0.31) โดยสรุปการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้สอนมีการสอนแบบสอดแทรกจริยธรรมในผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
References
สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: รัฐยาการพิมพ์; 2558.
ประเวศ วะสี. ปฏิรูปการศึกษา: ยกเครื่องทางปัญญาทางรอดจากความหายนะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2541.
กระทรวงศึกษาธิการ. การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ครุสภาคณะกรรมการ; 2539.
ประยูร วงศ์จันทรา. การพัฒนากระบวนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยการสอดแทรกจริยธรรมสําหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551. 168 หน้า.
วินัย วีระวัฒนานนท์. สิ่งแวดล้อมศึกษาในยุคโลกร้อน. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม; 2555.
ฐากร สิทธิโชค. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558. 310 หน้า.
อุไรวรรณ ธนสถิต. การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั้นเรียน. วารสารวิชาการ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2546; 23(3): 8-17.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. ทําอย่างไรกับการเรียนการสอนเพื่อปลุกฝังคุณธรรมจริยธรรม. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน 2547; 1(1): 3-7.
พระครูวาปีพัชราภรณ์. การศึกษาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 2554; 1(1): 52-58.
เทพพร มังธานี. จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมในวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง กรณีศึกษาวัฒนธรรมไท-ลาว ในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2556; 9(3) :57-76.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [homepage on the Internet]. กรุงเทพฯ: 2558. [cited 2015 Aug 12]. จำนวนนิสิต นักศึกษาทั้งหมด ของสถาบันการศึกษาของรัฐ จำแนกตามสถาบันการศึกษา ระดับการศึกษา และเพศ ปีการศึกษา 2557; Available from: http://www.info.mua.go.th/information/
สงบ ลักษณะ. การศึกษาและพัฒนาจริยธรรมไทย. การวัดผลการศึกษา 2524; 3(2): 29-57.
นฤมล มารคแมน. ปัญหาการสอนจริยธรรมในปรัชญาตะวันตก. รามคําแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ 2547; 20(1): 77-82.