การพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สุระพล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง, โรคมาลาเรีย, การเฝ้าระวัง, การป้องกัน, การควบคุม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ใช้แนวคิด PAOR กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความรู้และการมีส่วนร่วม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล ประมวลความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป พบว่า การพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่มี 7 ขั้นตอน (1) ศึกษาบริบทระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค 2) แต่งตั้งคณะกรรมการ (3) รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ (4) ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแผนงาน ได้ 5 โครงการ พัฒนา 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร 1 โครงการ ด้านวัสดุครุภัณฑ์ 2 โครงการสำรวจ ด้านงบประมาณมี 1 กิจกรรม และด้านบริหารจัดการ 1 โครงการ (5) นำแผนงานโครงการไปสู่การปฏิบัติ (6) สังเกตนิเทศและประเมิน (7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนสะท้อนผล หลังการพัฒนากลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น (ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.27 หลังการพัฒนาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 100.00) การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับสูง (ก่อน xˉ=2.13, SD=0.14 หลัง xˉ=2.60, SD=0.10) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ผู้บริหารมีนโยบายที่มีความชัดเจน เน้นการทำงานเชิงรุก ทุกภาคส่วนต้องทราบบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมระดมทรัพยากร 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุครุภัณฑ์ และด้านการบริหารจัดการ ครอบคลุมทั้ง 3 ภารกิจ คือ 1) การเฝ้าระวัง 2) การป้องกันและ 3) การควบคุมโรค ให้เกิดการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียให้สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

World Health Organization. (2016) World Malaria Report 2016. [online]. ได้จาก : http://www.who.int/malaria/data/en/ สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2560.

ประยุทธ สุดาทิพย์ และดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียของประเทศไทย : เหตุผลที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง RTI International และสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย 2560; จดหมายข่าว: 25 เมษายน 2560 (อินเตอร์เน็ต) (เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560). เข้าถึงได้จากhttp://www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/malaria/CBA%20Advocacy%20brief_240417_TH2.pdf

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555-2560. สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียรายสัปดาห์. กรุงเทพมหานคร; 2560.

ศูนย์ระบาดวิทยา. รายงาน 506. โรงพยาบาลบุณฑริก อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์คุรุสภา; 2560.

ชยุต ชำนาญเนาว์. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ และคณะ. การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอกรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559; 7 (2).

ชดาภร ศิริคุณและวุธิพงศ์ ภักดีกุล. การประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ Systemระดับอำเภอ (District Health: DHS) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2 (1).

บุญมา อุยาสงค์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียโดยทีม SRRT ของอาสาสมัครในเมืองตุ้มลาน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

เดือนนภา ศิริบูรณ์ และนพรัตน์ ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ของตัวแทนครัวเรือน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2559.

จรูญศักดิ์ หวังล้อมกลาง. ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29