การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนากระบวนการ, การดูแลระยะยาว, ชุมชน, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุนชน เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผู้เข้าร่วมการวิจัยเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย 1) ภาคประชาชน ได้แก่ ตัวแทนคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 1 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว จำนวน 31 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 31 คน 2) ภาควิชาการ ได้แก่ ทีมหมอครอบครัว จำนวน 8 คน 3) ภาคท้องถิ่น ได้แก่ คณะกรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเทศบาล จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 97 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบประเมินการมีส่วนร่วม แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ แบบประเมินความพึงพอใจต่อบริการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุนชนครั้งนี้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นจริงและจัดทำแผนปฏิบัติการ 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาควิชาการและภาคท้องถิ่น 3) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการติดตามเยี่ยมบ้าน 4) ระบบที่ปรึกษาร่วมกันในเครือข่าย 5) ทีมพี่เลี้ยงติดตามกำกับ และประเมินผลเป็นระยะ ผลลัพธ์ภายหลังดำเนินกระบวนการ พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากระบวนการดูแลที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลและผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพดีขึ้น โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีม ความมุ่งมั่นและเข้มแข็งของเครือข่ายแกนนำ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งด้านคน อุปกรณ์ เวลาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
References
World Health Organization. (2012). Ageing ad life course. [Online]. From: http://www.who.int/ageing/about/facts/en/index.html. [cited 2017 August 14].
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. National research policy and strategy 2012-2016.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www1.nrct.go.th/downloads/ps/seminar_13-03-2012/group9.pdf. [สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2561].
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. Mahidol Population Gazette 2017. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง; 2558.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร.การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน: ข้อเสนอเชิงนโยบายบูรณาการ. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้ (ประเทศไทย); 2550.
โรงพยาบาลวาปีปทุม. รายงานสรุปกลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลวาปีปทุม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลวาปีปทุม; 2559.
สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี, สมชาย วิริภิรมย์กุล, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย และทีปภา แจ่มกระจ่าง. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2557; 12 (3): 31-47.
แพรววิภา รัตนศรี. รูปแบบการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสระแก้ว ตำบลสระแก้ว อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.
พจนีย์ ขัดโพธิ์. กระบวนการสมัชชาสุขภาพในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของชุมชน ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
พิศสมัย บุญเลิศ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมันตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23 (2): 79-87.
นิสกร เพชรสิงห์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนไทรทอง หมู่ที่ 18 ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
เบญพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา และนภัส แก้ววิเชียร. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(6): 1017-1029.