ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • ศิรภัสสร มูลสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนะพล ศรีฤาชา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนไทย, ปัจจัยการบริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research)วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10 ประชากรที่ศึกษาคือ แพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 150 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด  เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง  การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติอ้างอิงเพื่ออธิบายไปยังแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10 เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไป และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.05 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.96 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6 พฤษภาคม ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยการบริหาร ระดับกระบวนการบริหาร และระดับปฏิบัติงานปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.03(S.D.=0.53),4.19 (S.D.=0.39), และ4.07(S.D.=0.55) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.517,p-value>0.001)และภาพรวมกระบวนการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทย(r=0.659,p-value>0.001)ทั้งนี้ กระบวนการบริหารด้านการวางแผน ด้านการควบคุมกำกับ โดยทั้ง  2 ตัวแปร มีผลสามารถพยากรณ์ปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทยได้ร้อยละ 45.5 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ บุคลกรแพทย์แผนไทยและผู้ช่วยแพทย์แผนไทยไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานทำให้การปฏิบัติงานบริการด้านแพทย์แผนไทย ร้อยละ 65.2 และข้อเสนอแนะ คือ เพิ่มอัตรากำลังบุคคลกรให้เหมาะสมกับภาระงานในพื้นที่

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

อุษณีย์ หลอดเณร. รายงานผลการพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทย (อีสานตอนบน) ปี 2556. อุดรธานี: เครือข่ายบริการที่ 8; 2556.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10. สรุปรายงานประจำปีงาน service plan การพัฒนาคุณภาพแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ; 2562.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.การเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: จามจุรี; 2551

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพ: สุวีริยาสาสตร์; 2553.

สำเริง จันทรสุวรรณและสุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่นภาควิชาสังคมและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

ประจักร บัวผัน.หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558

ศศิธร เฝ้าทรัพย์และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล; 2555. 28(1):35-45.

ธนภัทร อรัญเพิ่ม และชนะพล ศรีฤาชา ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดกาฬสินธุ์: วารสารวิจัย มข. 2554;16

Likert, Attitude theory and measurement. New York: John Wiley & Sons;1967

Weihrich, H.,& Koontz, H. Management: A Global perspective. 10th ed. New York: Mac Graw-Hil; 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-11