ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน, ปัจจัยที่มีอิทธิพลบทคัดย่อ
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และปัจจัยองค์กรของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม (2) กระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม (3) อิทธิพลของปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และปัจจัยองค์กรต่อกระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม
ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับต้นของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม จำนวน 8 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2562 ประชากรทั้งหมดรวม 136 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในหมวดคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ องค์กร และกระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ 0.927, 0.957 และ 0.956 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบ (1) คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการประสานงานและการทำงานเป็นทีมและด้านการนำองค์กรที่อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยองค์กรในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านวัฒนธรรมองค์กรและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่ในระดับมาก 2) กระบวนการจัดการความรู้ในหน่วยงานในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการบ่งชี้ความรู้และด้านการสร้างและแสวงหาความรู้อยู่ในระดับมาก 3) ตัวแปรพยากรณ์กระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมได้แก่ คุณลักษณะที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ การสนับสนุนจากผู้บริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแปรทั้ง 3 สามารถทำนายกระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมได้ร้อยละ 62.3 (R2 = 0.623) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร รองลงมา คือ คุณลักษณะที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมที่สำคัญคือ ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กร
References
Peter Drucker. The Information Executives Truly Need. Harward Business Review 1995. (January–February). 1995; 54-62.
วิจารณ์ พานิช. ขอบฟ้าใหม่การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2559.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546; กรุงเทพ : สิรบุตรการพิมพ์; 2546.
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. รายงานประจำปี 2550 สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม “ตามรอยความสำเร็จ KM ประเทศไทย”. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม; 2551.
บดินทร์ วิจารณ์. การจัดการความรู้ สู่ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด; 2549.
โทมัส เอช ดาเวนพอร์ท. การจัดการความรู้ : เทคนิคในการแปรความรู้สู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน. แปลโดย นิทัศน์ วิเทศ. กรุงเทพมหานคร: เออาร์ บิซิเนส เพรส จำกัด; 2542.
วรุณี ดวงจำปา. ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ในสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2554.
บุญดี บุญญากิจ และนภัสวรรณ ไทยานันท์. ตรวจสุขภาพองค์กรด้วย KM assessment (KMA). กรุงเทพมหานคร: หงส์อินเตอร์พริ๊นต์ จำกัด; 2555.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : หนังสือดีวัน; 2561.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. สังคมข้าราชการสูงอายุเต็มวัย: ประเทศไทยในมือข้าราชการแก่มาก [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562/2/15]; เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000036670
ประพนธ์ ผาสุขยืด. การจัดการความรู้ฉบับ KM Inside. กรุงเทพฯ: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์; 2553.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2559.
ภิญญดา อุ่นเที่ยว. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2556.
จิราภรณ์ พงษ์พันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของหัวหน้าพยาบาลหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
ลำยอง เรืองกฤษณ์. การจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคิรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2556.
สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค 2558[ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2562/2/15]; เข้าถึงได้จาก http://irem2.ddc.moph.go.th/content/225
วันวิสาข์ คงทน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล; วารสารวิทยบริการ; 2556: 24(2). 112-128.
Yousif, L. et al. The Role of Middle Managers in Knowledge Implement to Improve Organizational Performance in The Iraqi Mobile Telecomunication Sector. Interdisciplinary Journal of contemporary research in business. 2011.
เฉลิมพล ประเสริฐสังข์. บทบาทการดำเนินงาน และทักษะ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2562/2/15]; 2556. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/540286
Singh, K., S. Role of Leadership in Knowledge Management. Jounal of Knowledge Management. 2008, 12(4): 3-15.
อรวรรณ น้อยวัฒน์. กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2562/2/15]; 2556(3). เข้าถึงได้จาก: https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_3/km.html