ความฉลาดทางสุขภาพและอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ในเขตเทศบาลนครยะลา
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางสุขภาพ, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, นักเรียนบทคัดย่อ
ภาวะเด็กนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในเขตเมืองมากกว่าชนบท วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ในเขตเทศบาลนครยะลา เก็บตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทำนายพฤติกรรมด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความฉลาดทางสุขภาพ และอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในทางเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและระดับต่ำ (r=0.533, P <0.01) และ (r=0.449, P <0.01) ตามลำดับ และความฉลาดทางสุขภาพ สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้ร้อยละ 29.5 (P <0.01) ความฉลาดทางสุขภาพ และอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วน ได้ร้อยละ 40.3 (P <0.01) ดังนั้น ควรเพิ่มระดับความฉลาดทางสุขภาพ และอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะทำให้เพิ่มระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วนให้มากขึ้น
References
[เช้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก
:http://www.who.int/dietphysicalactivity/childhood/en/.
2. สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานระดับกระทรวง สาธารณสุขรอบที่ 2 ปี พ.ศ.2559. กรมอนามัย; 2559.
3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. รายงานการเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กวัยเรียนอายุ 7 – 12 ปี ปีงบประมาณ 2559. ยะลา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา; 2559.
4. World Health Organization. Health Promotion. WHO Publications. 1998.
5. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสำรวจ Health Literacy ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-15 ปี. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
6. นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561.
7. สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา. รายงานจำนวนนักเรียนในสังกัด ภาคการศึกษาที่ 1 ปี
การศึกษา 2562. สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา; 2562.
8. Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. Determining sample size for research activities.
Educational and Psvcholonical Measurement30: 1970.
9. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
10. อุทุมพร ผึ่งผาย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.
11. อารยา ทิพย์วงศ์ และจารุณี นุ่มมูล. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกาลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2557; 28(2): 1 - 11.
12 อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย เนตรนภา เครือสง่า นิศาชล ตันติภิรมย์ ปริญญาพร
ชาวบ้านเกาะและ เบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการใน
เด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6(2):
70-82
13. Carolyn Meggitt C Tina Bruce, Julian Grenier. Child Care and Education. 2ed
Hodder Education, an Hachette UK Company; 2012.
14. เพ็ญศรี กระหม่อมทอง, ศศิวิมล ปุจฉาการ และปนัดดา จั่นผ่อง. การสำรวจภาวะสุขภาพ
นักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2551. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม,
2553; 33(2), 53-60.