การพัฒนาสมรรถนะการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านการจัดการเรียนการสอน รายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลับพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยงยุทธ แก้วเต็ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กานต์สิรี นาครักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จักรวาล เรณูรส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, การพยาบาลครอบครัวและชุมชน

บทคัดย่อ

     การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขไทยในมิติของความเป็นมนุษย์ให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดของผู้ใช้บริการแต่ละราย การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์จึงเป็นการบริการที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 155 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า 5 ระดับ แบบบันทึกอนุทินผู้สอน แบบบันทึกการสะท้อนคิดผู้เรียน และการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาสมรรถนะการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านการจัดการเรียนการสอน รายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (χ2  = 72.650, p=.167, GFI = .940, AGFI = 0.988, RMSEA = .033)  โดยผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร พบว่า  1) การช่วยเหลือผู้อื่นมีอิทธิพลต่อการให้บริการด้วยความเสมอภาคมากที่สุด และการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นปัจจัยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างระหว่างบุคคลกับการให้บริการด้วยความเสมอภาค ส่วนตัวแปรความสุภาพอ่อนโยน การยอมรับในความคิดของผู้อื่น ความเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น แม้จะไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อทั้งตัวแปรความช่วยเหลือและความเสมอภาค แต่ก็เป็นตัวแปรพื้นฐานในรูปแบบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล นำไปสู่การช่วยเหลือผู้อื่น และส่งผลต่อการให้บริการด้วยความเสมอภาค 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  จากการวิเคราะห์บันทึกอนุทินผู้สอน การสะท้อนคิดผู้เรียน การสนทนากลุ่ม นำไปสู่ข้อสรุป คือ “เปิดใจเรียนรู้ ใส่ใจรับฟัง อยู่ร่วมกิจกรรม สะท้อนตนและปรับตัว” ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านการจัดการเรียนการสอน ควรส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ควบคู่ไปกับการที่ครูผู้สอนและครูพี่เลี้ยงแหล่งฝึกภาคปฏิบัติดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

Plernta Prombuasri, Jiriya Intana, Kanlaya Srimahunt, Yaowaluck Meebunmak..Curriculum Development on Humanized Caer Competencies of Preceptors in Practicum Setting Of Boromarajonani College of Nursing,Ratchaburi. Journal of Nursing and Education. 2015.8(1).131-151.

Ministry of Public Health. New Public Health Concept. Retrieved from www.tci-thaijo.org. (2020, 09 September). (2017).

Prombuasri, P., Intana, J., Srimahunt, K., & Meebunmak, Y. Curriculum Development on Hunmanized Care Competencies of Preceptors in Practicum Settings of Boromarajonani College of Nursing, Rachaburi. Journal of Nursing and Education. (2015). 8(1,)129-151. (

Likert, R.N. A Technique for the Measurement of Attitude: Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company. (1970).

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson,R. E. Multivariate Data Analysis.7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. (2010).

Watson, J. Nursing: Human science and human care: A theory of nursing. (2nd ed). Norwalk: Connecticut, Appletion-Century Crofts. (1988

Kittiraktrakul, S. Developing A Network Model: Humanized Health Care among Nursing Colleges Under the Praboromarajanok Institute, Thailand. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. (2011). 38(1),16-30.

Roykulcharoen, V. Nursing practice: The Humanized Care. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2007. )22(3, 5-8.

Seesawang, J., & Rungnoei, N. Nursing Care for Stroke Patients: Strategies towards Patient-Centered Care. Nursing Science Journal of Thailand. (2016). 34(3, )10-18. (

Sosome, B., Wiwekwan, Y., & Suwannaka, Y. The Humanized Health Care Model for Nursing Care Pregnancy Women: Knowledge from Nursing Students’ Experiences. Journal of MCU Peace Studies. (2017). 5(2.

Intawat, J., Bundasak, T., & Jangasem, N. The Humanized Care Paradigm: The Chapter of Gilanadhamma Camp Journal of MCU Peace Studies. (2017). 5(2, 376-387.

Wasi, P. Humanity and the reach of the highest: Truth, Goodness, Beauty. Bangkok: Green Punyachan. (2007)

Wangthong, A., Wangthong, A., Watsen, T., & Suttarangsri, W. Clients’ Perspectives on Humanized Nursing Care within a Multicultural Context: A Case Study of Nongjik District, Pattani Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. (2013). 35-44). (in th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-12