ผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ความจริงกับความหวัง”มุมมองผู้ป่วย ผู้ดูแลและชุมชนอีสานตอนบน

-

ผู้แต่ง

  • ยอดลักษ์ สัยลังกา โรงพยาบาลผาขาว
  • บุญมา สุนทราวิรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
  • รัตติกรณ์ มูลเครือคำ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลหนองหิน
  • จีระนันท์ สาวิยะ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองหิน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, ความจริงกับความหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพทั่วไป การดูแล ความเป็นอยู่ของผู้ป่วยระยะสุดท้าย  รวมถึงความคาดหวังของผู้ป่วย ผู้ดูแล/ครอบครัวและชุมชนต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน One Way ANOVA (Tukey HSD) และ Kruskal-Wallis Test  สรุปผลการวิจัย เติมเต็มด้วยวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึง กันยายน 2563 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 135 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายเพียงพอ  35 คน 2.กลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายพอมีพอใช้ จำนวน 75 คน และ 3.กลุ่มที่ไม่เพียงพอ/ขาดแคลน จำนวน 25 คน มีระดับความสุขภาพรวมเฉลี่ย 6.671 (SD=0.5681), 5.973 (SD=1.6339) และ 5.180 (SD=1.0516)  เมื่อเปรียบเทียบระดับความสุขรวมด้วย ANOVA พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนับสำคัญทางสถิติทั้งสามกลุ่ม (F=9.163, P-value<.001) เปรียบเทียบระดับความสุขมวลรวมผู้ป่วยด้วย Kruskal-Wallis Test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนับสำคัญทางสถิติทั้งสามกลุ่ม (Chi-square=46.186, P-value < 0.001) ภาคประชาสังคมมีมุมมองมุ่งเน้นการดูแลด้านการจัดบริการสุขภาพที่บ้าน/ครอบครัว  การสนับสนุนเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การดูแลความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพผู้ป่วยระยะสุดท้าย

References

World Health Organization: WHO. Integrating Palliative Care and Symptom relief into Primary Health Care: A HWO Guide for Planners, Implementer and Managers. [internet]. [2020]; Retrieved 20 April 2020, from: https://www.apps.who.int/iris.bitstream.handle.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง จังหวัดเลย. เลย. รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์; 2563.

World Health Organization: WHO. 2019. Achieve from: https://www.who.int in 15/05/2019

สะอาด มุ่งสิน และจรูญศรี มีหนองหว้า. 2558. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีชุมชนในสังคมวัฒนธรรมอีสาน: กรณีศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2558; 6(1), 89-104.

อารยา ทิพย์วงศ์ และบำเพ็ญจิต แสงชาติ. วัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะท้ายในชุมชน. วารสารพยาบาล. 2562; 68(1), 11-19.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562] สืบค้นจาก: http://www.moph.go.th/hdc/

จังหวัดเลย. เอกสารแนะนำการท่องเที่ยวจังหวัดเลย. เลย; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center: HDC. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562] สืบค้นจาก www.hdcservice.moph.go.th

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้งติ้ง; 2552.

ปาณบดี เอกะจัมปกะ, พูลสิน ศรีประยูรและศุภราภรณ์ ธรรมชาติ. Regional Health Profile รายงานสุขภาพคนไทย ระดับเขต. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. ชินอักษรการพิมพ์. นนทบุรี; 2561.

วณิชชา ณรงค์ชัย และดุษฎี อายุวัฒน์. 2011. รูปแบบการอยู่อาศัยร่วมกันของคนข้ามรุ่นในครอบครัวผู้ย้ายถิ่นอีสาน. วารสารวิจัย มข. 2011; 11(3). 101-109.

ภูชงค์ ฉิมพิบูลย์ และพรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2560; 15(3).

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. แนวทางการพัฒนา Hospice care ในประเทศไทย: ทางเลือกของการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (TRC-HS) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22