ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต ตันธนปัญญากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธรรมศักดิ์ สายแก้ว วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วรางคณา จันทร์คง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, เยาวชน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยได้ผ่านขั้นตอนการตรวจความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและมีความเชื่อมั่นทั้งนี้โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 0.92 มีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง เป็นเยาวชนที่มีอายุ 15 ปี- 18 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 280 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติ Chi-Square ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.70 อายุเฉลี่ย 16.83 ปี (SD=0.97) โดยปัจจัยส่วนบุคคล  อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่ ในขณะที่ เพศ ด้านอาชีพของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ด้านทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ ปัจจัยด้านการเข้าถึงบุหรี่ ปัจจัยด้านการได้รับความรู้ทางกฎหมาย มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยข้อมูลวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชน ทั้งเยาวชนที่สูบบุหรี่อยู่แล้วและเยาวชนที่มีแนวโน้มในการเริ่มสูบบุหรี่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพในการดำเนินการต่อไป

References

ศิริพร จินดารัตน์, ต่วนนุรมา หะมะ, พารีดาห์ ดาโอะ, กีรติ มอลอ และฤทัยชนนี สิทธิชัย.รูปแบบการเลิกบุหรี่ของผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาล. 2563; 69(1): 28-35.

มณฑา เก่งการพานิช, แสงเดือน สุวรรณรัศมี, ชวาลา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และ

ธราดล เก่งการพานิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา. 2557; 37(128): 29-44.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.trc.or.th/th/media/attachments/2020/07/19/..-2562.pdf

งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานความชุกของผู้สูบบุหรี่จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://skmo.moph.go.th

ศศิธร ชิดนายี และ วราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ. 2561; 10(1): 83-93.

Nadia J. Sweis. Smoking Behavior among Jordanians: Physical, Psychological, Social, and Economic Reasons. Value in Health Regional. 2018; 16: 5-8.

ประภาภรณ์ รักษ์สุข. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

กัลยา วิริยะ, ประภาพร ชูกำเหนิด, และ อังศุมา อภิชาโต. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2562; 30(1): 66-74.

Rahman Panahi, Ali Ramezankhani, Mahmoud Tavousi, Fereshte Osmani and Shamsaddin Niknami. Knowledge and Attitude of Dormitory Students of Shahid Beheshti University of Medical Sciences about Smoking in 2016. Health Education and Health Promotion (HEHP). 2016; 4(1): 51-61.

ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภาคตะวันออก. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563; 15(2): 25-38.

ลักษมล ลักษณะวิมล, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร และนัยนา หนูนิล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล. 2563; 69(1): 1-9.

อภิณัฐ ช้างกลาง และพิษนุอภิสมาจารโยธิน. การวิเคราะห์สาเหตุเชิงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2561; 7: 111-129.

อรวรรณ วรอรุณ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และ ศุภชัย ปิติกุลตัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 12(2): 75-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12