ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การดูแลสุขภาพช่องปาก, สามเณร

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร  โรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ที่ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของสามเณร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 150 รูป ได้แก่ สามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดน้ำไคร้นันทชัย และวัดนิโครธาราม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของสามเณร, แบบสอบ ถามแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก 4) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ส่วนที่  2, 3 และ4 มีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.926, 0.814 และ0.729 ตามลำดับ และแบบบันทึกประสิทธิภาพการแปรงฟัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบผลการศึกษาด้วยสถิติทดสอบที

        ผลการวิจัยพบว่าหลังสิ้นสุดโปรแกรม สามเณรมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปาก ( = 77.79, S.D. = 2.80) ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ( = 14.08, S.D. = 0.93) พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ( = 3.84, S.D. = 0.21) และประสิทธิภาพการแปรงฟัน ( = 0.12, S.D. = 0.15) เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย พบว่าทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value <.01) ทั้งนี้สามเณรควรได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดียิ่งขึ้น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มืออนามัยสามเณร. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ. (2558). โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อัดสำเนา): เชียงใหม่.

กรมอนามัย. (2560). คู่มือหลักสูตรการอบรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ ด้านทันตสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลท่าวังผา. (2562). โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอท่าวังผา. โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน.

มารุต ภู่พะเนียด และสุวิทย์ คุณาวิศรุต. (2562). ปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน. วารสารราชพฤกษ์, 11(3), 75-82.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกำแหง และพัชรี ดวงจันร์. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 19(2), 153-164.

กองสุขศึกษา. (2561). กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด.

กรมอนามัย. (2563). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 แยกรายเขตสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=2424

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพ. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

สรวงสุดา บูชา. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความ สามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารทันตาภิบาล, 29(2), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-11