ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • รัตนพร สายตรี คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พ้นภาวะวิกฤตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ และส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม ความพิการดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติและช่วยเหลือตัวเองได้ บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้ สถานการณ์และผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง การฟื้นฟูสมรรถภาพและการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยพบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นกลุ่มอาการที่สมองถูกทำลายและสูญเสียการทำหน้าที่ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ผลกระทบต่อร่างกาย 6 มิติ คือ ระบบกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก การมองเห็น ภาษา ความจำ และอารมณ์ การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันโดยการใช้แบบประเมิน Barthel Index เพื่อใช้ในวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะทางประชากร สภาพครอบครัว และปัจจัยทางคลินิก ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างต่อเนื่อง และควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพื่อใช้เป็นแนวทางและการวางแผนในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ต่อไป

References

วิยะดา ศักดิ์ศรี และสุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล. คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง; 2552.

พรเทพ มิ่งมาลัยรักษ์. ศูนย์หลอดเลือดสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลศิครินทร์. เช็กอาการเปลี่ยนชีวิต ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2560 จาก https://health.kapook.

com/view89057.html

World Stroke Organization. World Stroke Campaign. [Internet]. 2015 [cited 2017 Mar 16]; Available from: http://www.world-stroke.org.

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/sic/news_detail.asp?n_id=3884

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

ชื่นชม ชื่อลือชา. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555; 12(1): 97 – 111.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์. หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. ขอนแก่น: โรงพิมพ์

คลังนานาวิทยา; 2548.

พัชรินทร์ เจริญผล. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. สระบุรี: โรงพยาบาลมวกเหล็ก; 2555.

Mahoney FJ and Barthel DW. Functional evaluation : The Barthel Index. Md Med J 1965;

: 61-65.

Jitapunkul S., Kamolratanakul P. and Ebrahim S. Disability Among Thai Elderly Living in Klong Toey Slum. J Med assoc Thai. 1994; 77: 231 – 238.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์; 2550.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์; 2554.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เตี้ย และประณีต ส่งวัฒนา. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2560; 9(2): 14 - 25.

นงนุช แย้มวงษ์. คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการใน โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2557; 21(1): 37 - 44.

พิชญานนท์ งามเฉลียว. โรคหลอดเลือดสมอง: การดูแลที่บ้าน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560 จาก http://medinfo2.psu.ac.th/commed/document/cosnf/2012/CVA_HHC_upload.pdf

Hsueh I., Lee M. and Hsieh C.. Psychometric characteristics of The Barthel Activities of Daliy Living Index in stroke patients. J Formos Med Assoc 2001; 100(8): 526 – 532.

ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เยาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต และอำไพ อยู่วัลย์. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549; 16(1): 1 – 9.

บุษกร โลหารชุน, ปานจิต วรรณภิระ, จินตนา ปาลิวนิช และกัญญารัตน์ ค้ำจุน. ความน่าเชื่อถือของการประเมินผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยแบบประเมิน Modified Barthel Index ฉบับภาษาไทย. พุทธชินราชเวชสาร. 2551; 25(3): 841-851.

Whittle H, Goldenberg D. Functional health status and instrumental activities of daily living performance in non-institutionalized elderly people. J Adv Nurs 1996; 23: 220-227.

รุ่งทิพย์ กาญจนวิทิต และปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันแบบมีอุปกรณ์ของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2548; 15(1): 1 – 9.

King RB. Quality of life after stroke. Stroke 1996; 27(9): 1467-1472

จันทร์จิรา ลิ้มถาวร. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเรียนรู้โดยการกระทำ โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารกรมการแพทย์. 2559; 3: 92 – 101.

Dajpratham P., Kuptniratsaikul V., Putthakumnerd W. and Limumpai P.. Walking Function at 1-Year after Stroke Rehabilitation: A Multicenter Study. J Med Assoc Thai 2014; 97(1): 107 – 112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13