ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ หลวงพันเทา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 86 คน โดยสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน 2560 โดยใช้แบบสอบถามส่วนที่ 1 และ 2 ที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญสามท่าน ส่วนที่ 3 ใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย อัตราการตอบกลับร้อยละ 100.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา แสดงด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 67.8 ปี มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ย 1,887 บาท โดยส่วนใหญ่มีลักษณะการอยู่อาศัยกับบุคคลในครอบครัวกับคู่สมรสครอบครัว และจำนวนสมาชิกครอบครัวในปัจจุบันเฉลี่ย 3.53 คน ปัจจัยการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 48 คน (ร้อยละ 55.8) พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 60 คน (ร้อยละ 69.8) เมื่อพิจารณาแบ่งคุณภาพชีวิตออกเป็น 4 ด้านย่อย ๆ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ยกเว้นด้านจิตใจ อยู่ระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกครอบครัวในปัจจุบัน และปัจจัยการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุที่สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยจัดให้มีการจัดบริการสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2550.
2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
3. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
4. สุวัฒน์ มหัตนิรันด์กุล. แบบสอบถามคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลสวนปรุง. กรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข; 2545.
5. ณัฏฐา ณ ราช. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
6. ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร” สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพรรณนานิคมร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
7. สุรจิตต์ วุฒิการณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2556.
8. มยุรี ว่องไวรุด และสุนิตา ชูโชติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2554.
9. ดวงใจ คำคง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2554.
10. สายโสม วิสุทธิยานนท์ และรัชนีกร โชติชัยสถิต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ” วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม สาขามนุษย์นิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2556.
11. วีรพงษ์ ยางเดี่ยว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดยโสธร” วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13