รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นฤมล ไกรกล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิรัติ ปานศิลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ผู้นำชุมชน, จุดเสี่ยง

บทคัดย่อ

ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย เป็นสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่สำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 330 คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาบริบทและวางแผนการดำเนินงาน 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน  ภายหลังการดำเนินงานพบว่าพฤติกรรมการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมายอุบัติเหตุก่อนการศึกษา ค่าเฉลี่ย 3.52±0.34 หลังการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เป็น 4.46±0.23 กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน ก่อนการศึกษากลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ย 3.36±0.23 หลังการศึกษากลุ่มตัวอย่างมี ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.46±0.26 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พื้นที่สามารถวิเคราะห์จุดเสี่ยงจำนวน 5 จุด และร่วมหาแนวทางแก้ไข เปรียบเทียบการดำเนินงานก่อนและหลังดำเนินงาน การบาดเจ็บลดลง 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.73 เสียชีวิตลดลง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) สรุปการศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยงในครั้งนี้  ผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถร่วมวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง หาแนวทางการแก้ไข และร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินงานในทุกขั้นตอนตามบริบทของตนเอง ทั้งนี้ทำให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับทุกภาคส่วน

References

1. World Health Organization. Global status report on road safety 2015.Geneva:World Health Organization (WHO/27.2015); 2015.
2. ศิริกุล กุลเลียบ และคณะ. ศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต: โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.)โรงพิมพ์ เดือน กันยายน; 2553.
3. มณีรัตน์ งอยภูธร. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของผู้บริโภคแอลกอฮอล์ ในเขตเทศบาลตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
4. ณัฐกานต์ ไวยเนตรและคณะคู่มือการสอบสวนการบาดเจ็บ สำนักระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-13 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัดสาขา 4; 2557.
5. ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2543
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานผลการดำเนินงานอุบัติเหตุ ประจำปี 2558: (เอกสารอัดสำเนา); 2558.
7. ไทยตำบลดอทคอม. ข้อมูลตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี. (อินเติร์เน๊ต)(เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2559), เข้าถึงได้จาก http://www.thaitambon.com/tambon/341511; 2559.
8. ชุดา โค้วธนพานิช. การศึกษาและพัฒนาคู่มือการสำรวจและวิเคราะห์จุดเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม จังหวัดมหาสารคาม: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน; 2558.
9. Kemmis, S’ and McTaggart, R. The action research reader (3rd edition): Geelong: Deakin University Press; 1990.
10. วิรัติ ปานศิลา. เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า; 2554

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13