การประยุกต์ใช้โปรแกรมพฤติกรรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเขวาตะคลอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุธิพร หรเพลิด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิจฉรา ทูลธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา Kasetwisai Hospital

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคม, โรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพฤติกรรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติตัว ได้แก่ Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองมีค่าลดลงภายหลังการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) โดยสรุป การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเอง ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง การฝึกอบรม เพื่อการบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับโรคเบาหวาน การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้

References

1.ธิติ สนับบุญ และวราภณ์ วงศ์ถาวราวัฒน์. การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
2. Knowler, W. et al. Reduction in the incidence of type 2 diabetes with lifestyle. N Eng J Med, 2002; 393–403.
3. สำเริง แหยงกระโทก และรุ่งจิรา มังคละศิริ. คูมือการพัฒนาศูนยสุขภาพชุมชน (หน่วยบริการปฐมภูมิ: PCU) หนทางสูระบบบริการที่พึงประสงค. นครราชสีมา: ศูนยฝกอบรมและพัฒนาสาธารณสุขนครราชสีมา สํานักงานสาธารณสุข จังหวดนครราชสีมา; 2550.
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง. ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังปี 2555 – 2557. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง ตำบลทุ่งทอง
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด; 2557.
5. ศิริพร ธรรมมีภักดี. การเสริมพลังอำนาจตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองไผ่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
6. Audet, C. M. A Comparison of Quality of Life in Traditional Face-to-Face and Internet-based Diabetes Social Support Group Participants. Ann Arbor: United States; 2013.
7. วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี; 2557
8. นิ่มละมัย หนูก่ำ. ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบบูรณาการต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตำบลตากแดด อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556
9. สายใจ โพนาม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 2558; 10:108-130.
10. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิดทฤษฏีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554
11. อภิชาติ กตะศิลา. การใช้สมุดบันทึกข้อมูลทางคลินิกร่วมกับการสนับสนุนจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
12. อารีย์ สงวนชื่อ และ ปณิธาน กระสังข์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี; 2560.
13. จิราวดี ตรีเดช. ผลของโปรแกรมคู่หูเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13