พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ เมามีจันทร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัตน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 630 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 2 ใน 3 เคยมีหรือกำลังบริโภคอาหารเสริม (ร้อยละ 42.54) บริโภคอาหารเสริมประเภทวิตามินและเกลือแร่เป็นประจำ (ร้อยละ 20.63) บริโภคอาหารเสริมเพื่อใช้บำรุงร่างกาย (ร้อยละ 34.13) ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (ร้อยละ 26.19) และเชื่อว่ารักษาโรคเบาหวานได้ (ร้อยละ 20.79) ตามลำดับ บุคคลที่เป็นแรงจูงใจในการบริโภค คือ ลูก หลาน (ร้อยละ 16.03) และกลุ่มผู้ป่วย (ร้อยละ 14.44) นอกจากนี้ ผู้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 เลือกซื้ออาหารเสริมจากร้านขายยา (ร้อยละ 17.62) มีระยะเวลาในการบริโภคเฉลี่ยเท่ากับ 14.03 (SD = 27.41) เดือน และผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 รับประทานยาเบาหวานร่วมกับบริโภคอาหารเสริมวันละ1 – 2 ครั้ง (ร้อยละ 29.37) และผู้ที่เคยหรือกำลังบริโภคอาหารเสริมไม่ได้เคยปรึกษาใครหรือตัดสินใจเองในการบริโภค (ร้อยละ 27.94)จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการดูแลและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในการดูแลสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ต่อไป

References

1. รักษ์เกียรติจิรันธร, ณรงค์ศักดิ์สิงห์ไพบูลย์พร, ภัทราภรณ์เงาดุลยวัต,ศิวพรมงคลสุข และศรีวิมล มหัทธโนบล.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2550; 13 (2): 219-232.
2. ทักษพล ธรรมรังสี, ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์, สุลัดดา พงษ์อุทธา, อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, สิรินทร์ยา พูลเกิดและอรทัย วลีวงศ์. ข้อจำกัดและโอกาสในการจัดการกับวิกฤติโรคเรื้อรังในประเทศไทยด้วยมาตรการระดับประชากรตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก. วารสารวิจัยและระบบสาธารณสุข. 2554; 5 (4): 400-438.
3. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. เข้าใจเบาหวาน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2560. แหล่งข้อมูล http://www.dmthai.org/news_and_knowledge/list/150.
4. ชัชลิต รัตรสาร. การระบาดของโรคเบาหวานและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย. Novo Nordisk Pharma Thailand; 2557.
5. วิลาวรรณ ไชยปัญญา, ปิยะพร ทองเนื้อนวล และอรพินธ์ เขียวชุม. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2559.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2560, จากk4ds.psu.ac.th/dhssouth/download/.../4_PAR3_รพ.สิงหนคร_ประเด็นโรคเบาหวาน.pdf.
6. นุชรี อาบสุวรรณและนิตยา พันธุเวทย์. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559; จาก www.thaincd.com/document/hot%20news/ประเด็นสารวันเบาหวานโลก2558.doc.
7. นุชรี อาบสุวรรณและนิตยา พันธุเวทย์. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก 2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559; จาก www.thaincd.com/.
8. InternationalDiabetes Federation :IDF. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559; จาก https://www.idf.org/.
9. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559; จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/.
10. PDC ระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559; จาก http://122.154.46.179/pdc/.
11. ธีราพร สอดส่องกฤษ. การสกัดหาตำแหน่งของหลอดเลือดเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการวินิจฉัยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารร่มพฤษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 2557; 32(2): 25-42.
12. จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, วิชุดา กิจธรธรรม. การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(2): 65-80.
13. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559. จากhttp://webnotes.fda.moph.go.th/consumer/.
14. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤตยา อาชวนิจกุล, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล, ปาณฉัตร ทิพย์สุข และสาสินี เทพสุวรรณ์. สุขภาพคนไทย. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
15. Euromonitor International. Vitamins and Dietary Supplements in Thailand. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561; จาก https://www.euromonitor.com/dietary-supplements-in-thailand/report.
16. สมใจ ผ่านภูวงษ์ และกรแก้ว จันทภาษา. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 5. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2556; 5: 155-159.
17. ศิริพร ทิมาบุตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2560.
18. ปรียาภรณ์ สวัสดิ์ศรี. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรและผักพื้นบ้านในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลองครักษ์จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2558; 26(1): 35-47.
19. รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และเรวดี สุวรรณนพเก้า. มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
20. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 256-268.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13