รูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ธรรมนูญสุขภาพตำบล, ควบคุมและป้องกัน, โรคพยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 75 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน คือ Paired Sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการครั้งนี้ ประกอบด้วย 11 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ 4) เวทีพิจารณาร่างธรรมนูญสุขภาพ 5) ปรับปรุงร่างธรรมนูญและจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 6) ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ 7) ดำเนินโครงการอบรมแกนนำอาสาสมัครพิทักษ์พยาธิใบไม้ตับ 8) นิเทศติดตาม 9) ประเมินผล 10) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11) ถอดบทเรียน ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ บทบาทหน้าที่ การมีส่วนร่วม พฤติกรรมการปฏิบัติตน และความพึงพอใจในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และเกิดรูปแบบในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ คือ PROTECT Model สรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นผลมาจากหลักการสามประการ คือ D-H-B กล่าวคือ Development: D หมายถึง การพัฒนาโดยอาศัยการมีส่วนร่วมและยอมรับร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน Harmony: H หมายถึง ความสามัคคีและความสอดคล้องกันขององค์ประกอบต่างๆในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ Best Behavior: B หมายถึง การเสริมพลังให้ประชาชนมีการปฏิบัติตนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
References
2. ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. รายงานการวิจัย การศึกษาคุณลักษณะของทูบูลินในพยาธิใบไม้ตับออร์พิสทอร์คิส วิเวอร์รินิ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558.
3. บรรจบ ศรีภา, พวงรัตน์ ยงวนิช, ชวลิต ไพโรจน์กุล. สาเหตุและกลไกการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี: ปฐมบทความสัมพันธ์กับพยาธิใบไม้ตับ. วาสารศรีนครินทร์เวชศาสตร์. 2548; 20(3): 112-34
4. สัญชัย ปิยะพงษ์กุล. กินปลาร้าสุกป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2555. (ม.ป.ท.)
5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสร้างคอม. รายงานการตรวจราชการ ประจำปี 2556; 2556.
6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยวด. รายงานสรุปผลโครงการป้องกันและแก้ไขโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ปี 2558; 2558.
7. Kemmis, S, & Mc Taggart, R. (Eds.). The action research planner. 3rded. Geelong, Victoria: Deakin University Press; 1988.
8. Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika 1951; 16: p 297-334.
9. ประกันชัย ไกรรัตน์. การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลในการคัดแยกขยะมูลฝอย เขตเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
10. รุจิรา ดวงสงค์ และคณะ. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต; 2554.
11. นิศร ผานคำ. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับระดับชุมชน ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
12. รุจิรา ดวงสงค์ และคณะ. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับประชาชน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; ม.ป.ท.: 2550.
13. วีระพล วิเศษสังข์. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มวัยแรงงาน ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพนพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.